Civil Engineering CMU

เกี่ยวกับเว็บไซต์

เว็บไซต์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ถูกออกแบบตามมาตรฐาน  กล่าวคือ เว็บไซต์ที่สอดคล้องตามมาตรฐานโลกเพื่อให้ใช้งานได้ทุกเว็บเบราว์เซอร์โดย ใช้เทคโนโลยีเว็บปัจจุบันเพื่อรองรับอนาคต ออกแบบและใช้งานโดยมีเนื้อหาและรูปภาพไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ออกแบบเว็บไซต์ให้เหมาะสมและง่ายต่อการเข้าถึงของผู้ใช้งาน รวมไปถึงการชดเชยคาร์บอนที่เป็นกลาง

ระบบทั้งหมดถูกออกแบบโดยเจ้าหน้าที่ของภาควิชาวิศวกรรมโยธา

ออกแบบสอดคล้องกับมาตรฐานโลก

เว็บไซต์ได้ถูกออกแบบให้สอดคล้องกับมาตรฐานในการออกแบบเว็บไซต์ ตามมาตรฐาน HTML ที่กำหนดไว้โดย World Wide Web Consortium ที่เป็นหน่วยงานระดับนานาชาติ กล่าวคือผู้ใช้งานสามารถใช้เว็บเบราเซอร์ได้ทุกตัว ไม่ว่า ไฟร์ฟอกซ์ (Firefox), ซาฟารี (Safari), โครม (Chrome), หรือ อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ (Internet Explorer) รุ่นไหนก็ตาม ผู้ใช้สามารถเข้าชมเว็บไซต์ได้เต็มสมรรถนะโดยไม่จำกัดการใช้งานว่าผู้ใช้ต้องใช้เว็บเบราว์เซอร์ตัวใดตัวหนึ่ง

การออกแบบนี้รวมไปถึงการรองรับการใช้งานโดยเครื่องมือหรือคอมพิวเตอร์พกพาอื่น ไม่ว่าสมาร์ตโฟน โทรศัพท์มือถือ หรือแม้แต่แท็บเบล็ตอย่างไอแพด

เทคโนโลยีเว็บปัจจุบัน

เว็บไซต์และนิวมีเดียเป็นเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เว็บไซต์ภาควิชาวิศวกรรมโยธานั้นถูกออกแบบโดยใช้เทคโนโลยีล่าสุด เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต ไม่ว่า

  • CSS 2 (2541)
  • XHTML 1 (2543)
  • Tableless Web Design (2545)
  • AJAX (2548)
  • jQuery (2551)
  • Drupal 6 (2552)
  • รวมไปถึงการนำ social network(s) มาประยุกต์ใช้เป็นช่องทางสื่อสาร

ซึ่งได้วางแผนการรองรับการใช้งาน HTML5 และ CSS 3 ที่จะมาเป็นเทคโนโลยีหลักของเว็บไซต์ในอนาคต

เว็บไซต์ที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์

เนื้อหาและภาพทั้งหมดที่ใช้ในเว็บไซต์นี้เป็นข้อมูลที่ไม่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ เนื้อหาและภาพทั้งหมดภายในเว็บไซต์นี้จะแบ่งได้เป็นสามประเภทคือ (1) เนื้อหาหรือภาพที่ได้ถูกสรรค์สร้างจากทางหน่วยงานโดยตรง (2) เนื้อหาหรือรูปภาพได้รับอนุญาตจากทางเจ้าของให้เผยแพร่ได้อย่างเหมาะสม และ (3) เนื้อหาหรือภาพที่มีลิขสิทธิ์ ถูกนำมาใช้ตามลักษณะของครีเอทีฟคอมมนส์ (creative commons) ตามแนวคิดการแผยแพร่อย่างเสรีที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์

ทางเราเชื่อว่าหน่วยงานในสถานศึกษาควรเป็นจุดเริ่มต้นในการสนับสนุนนโยบาย การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่มีการโจรกรรมทางวรรณกรรม ไม่มีการ copy/paste เพราะเราเชื่อว่าจุดเริ่มต้นนี้จะเป็นการพัฒนาแนวคิดให้การทำงานที่ถูกต้องให้กับชนรุ่นหลังได้

ออกแบบให้ง่ายต่อการใช้งาน

นอกเหนือจากการออกแบบอินเตอร์เฟซผู้ใช้งานตามลักษณะของ UI Design (user interface) เหมือนเว็บไซต์อื่นแล้ว เว็บไซต์ภาควิชาได้ถูกออกแบบสำหรับการใช้งานให้เหมาะสมของผู้ใช้งานตามหลักการออกแบบ UX Design (User experience design) โดยคำนึงถึงผู้เข้าชมเป็นศูนย์กลาง ได้ถูกออกแบบและคำนึงถึงการใช้งานของผู้ใช้เป็นหลัก รวมถึงได้ทำการทดสอบและปรับแก้ตามหลักของ PDCA เพื่อให้ได้เว็บไซต์ที่เหมาะสมกับการใช้งานในการเป็นสื่อกลางอีกหนึ่งตัวสำหรับเว็บไซต์หน่วยงานสถานศึกษา

เว็บไซต์นี้ยังมีการออกแบบให้ง่ายต่อการค้นหาทั้งจากภายใน และจากภายใน ไม่ว่าจากทางกูเกิล (Google) ยาฮู! (Yahoo!) หรือบิง (Bing) โดยออกแบบตามหลักของ SEO (search engine optimization) เพื่อให้ผู้ค้นหาสามารถหาข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามความต้องการ และเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย

การจัดการความรู้

เนื้อหาในเว็บไซต์ถูกรวบรวมและจัดระเบียบในลักษณะของ การจัดการความรู้ (knowledge management - KM) โดยมีการรวมรวม เรียบเรียง และเผยแพร่ อย่างมีระบบ รวมไปถึงการจัดทำอนุกรมวิธานของข้อมูล 

เว็บไซต์ที่คาร์บอนเป็นกลาง

เว็บไซต์ที่คาร์บอนเป็นกลาง (carbon neutral website) หมายถึง ภาควิชาวิศวกรรมโยธาของเราได้ช่วยลดรอยเท้าคาร์บอน (carbon footprint) และได้ชดเชยคาร์บอนกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากผลการคำนวณจาก Carbonfund.org ภาควิชาได้คำนวณการชดเชยคาร์บอนดังนี้:

  • เซิร์ฟเวอร์จำนวน 2 ตัว - คาร์บอน 3,560 กิโลกรัม
  • ออฟฟิศ - คาร์บอน 8,940 กิโลกรัม
  • การเดินทางโดยรถส่วนตัว - คาร์บอน 2,930 กิโลกรัม
  • การจัดงานสัมมนา - คาร์บอน 170 กิโลกรัม
  • อาจารย์หลายท่านเดินไปกลับและขี่จักรยานระหว่างบ้านกับที่ทำงาน - คาร์บอน 0 กิโลกรัม
     
  • รอยเท้าคาร์บอนทั้งหมด คาร์บอน 15,600 กิโลกรัม (15.6 ตัน) ต่อปี

หลังจากคำนวณรอยเท้าคาร์บอนทั้งหมด ภาควิชาได้ชดเชยคาร์บอนด้วยการร่วมสนับสนุนโครงการและงานวิจัยในหลายด้าน ไม่ว่าการพัฒนาพลังงานทางเลือก พลังงานจากกังหันน้ำ พลังงานจากกังหันลม พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพลังงานจากไบโอแก๊ส และโครงอื่นอีกหลายโครงการ โดยในแต่ละปีนั้นมีการชดเชยคาร์บอนมากกว่า 15,600 กิโลกรัมเทียบเท่ากับปริมาณคาร์บอนที่ลดลง