ค่ายสำรวจที่ "หมู่บ้านอีราง" ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
หลังจากเปิดคณะไปได้สัก 1 ปี (ตั้งแต่ 3 มิถุนายน พ.ศ.2513) พวกเราอาจารย์วิศว มช.ส่วนหนึ่งอันประกอบด้วยอ.คำนึง, อ.ปราโมทย์, อ.สุพร และผู้เขียน เริ่มมองหาพื้นที่ที่จะสร้างเป็นค่ายสำรวจถาวร โดยตั้งข้อกำหนดไว้ว่า
ข้อกำหนดดังกล่าวที่ตั้งไว้มากถึง 8 ข้อ ก็เพื่อที่จะได้ไม่มีปัญหาต่างๆ ตามมา ในภายหลัง
ความพยายามของพวกเราประสบความสำเร็จตามข้อกำหนดเกือบทั้งหมด เมื่อปีพ.ศ.2513 เมื่ออ.คำนึงได้รับแจ้งจากเพื่อนบ้านชาวป่าไม้คนหนึ่งว่ามีที่น.ส3 แปลงหนึ่งขนาดพื้นที่ประมาณ 17 ไร่ แต่มีเอกสารสิทธิ์เพียง 5 ไร่เท่านั้น แต่คิดว่าไม่มีปัญหาอะไร เมื่อมาแจ้งให้อ.สุธรรมฯ เลขานุการคณะวิศวฯทราบ แล้วไปดูพื้นที่ด้วยกัน ลุงชื่น เจ้าของที่ขอขายในราคา 5,000 บาท ซึ่งเป็นที่ตกลงกันด้วยดีในเวลาต่อมา ปัจจุบันมีเอกสารสิทธิ์ทั้ง 17 ไร่ ถนนค.ส.ล.เข้าถึง มีลำเหมืองชลประทานราษฎร์อยู่ติดกับที่ และในปัจจุบันมีไฟฟ้าแรงสูงเข้าถึงที่มาได้เกือบ 10 ปีแล้ว
ตัวค่ายฝึกถาวรประกอบด้วย 1.เรือนพักนักศึกษาชาย(ประมาณ 80 คน อยู่ชั้นบน) และนักศึกษาหญิง(ประมาณ 20 คน อยู่ชั้นล่าง) 2.เรือนพักอาจารย์ 2 ชั้นสำหรับอาจารย์ประมาณ 10-12 คน (อยู่ชั้นบน) และห้องเก็บเครื่องมือ พร้อมห้องสำหรับครูปฏิบัติการ 2 คน(อยู่ชั้นล่าง) 3.ครัว และโต๊ะ เกาอี้ทานอาหาร สำหรับนักศึกษา 100 คน 4.โรงสูบน้ำถังสูง และห้องน้ำของทั้งเรือนพัก นักศึกษา และอาจารย์ 5.รั้วลวดหนามโดยรอบ
ค่ายฯนี้อยู่บนถนนแยกสู่ดอยอินทนนท์ และมีถนนย่อยเข้าหมู่บ้านอีราง และถนนแยกเข้าค่ายสำรวจฯด้วย ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์จากคณะวิศวฯเพียง 1 ชั่วโมงเศษๆเท่านั้นเอง
การก่อสร้างเรือนพักนักศึกษา เสร็จสมบรูณ์ปีพ.ศ.2517 และ
การก่อสร้างเรือนพักอาจารย์ เสร็จสมบรูณ์ปี พ.ศ.2510
เริ่มเปิดใช้งานสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 GEAR 6 (รหัส 186...) เป็นปฐมฤกษ์
เมื่อแรกเริ่มซื้อแผ่นดินผืนนี้ เมื่อปีพ.ศ.2515นั้น ยังมีสภาพเป็นป่าโปร่งเสื่อมโทรมลาดสู่ลำน้ำแม่กลาง ซึ่งมีราษฎรในหมู่บ้านอีรางไปจับจองไว้ทำกิน แล้วได้เอกสารสิทธิ์ นส.3 ในเวลาต่อมา ดินไม่ดีเป็นกรวดผสมทรายไม่สามารถทำไร่ทำนาได้ แต่สำหรับที่ดินแปลงที่อยู่ถัดไปข้างในหลังจากเจ้าของได้ถางป่าปรับสภาพพื้นที่ และปรับปรุงดินแล้ว ได้พัฒนามาเป็นไร่มะม่วงที่ใหญ่แห่งหนึ่ง(พื้นที่คงมากกว่า 50 ไร่ จากการประมาณการด้วยสายตา)
สำหรับพื้นที่ค่ายของเรา อาจารย์เจ้าของวิชาสำรวจได้เคยนำนักศึกษารุ่นแรก(GEAR1 รหัส136...)จำนวน 10 กว่าคนมาช่วยแผ้วถางให้เตียน และสะอาดตาขึ้น ก่อนที่จะได้ไปเข้าค่ายสำรวจชั่วคราว ที่ค่ายตชด.อำเภอแม่แตงครั้งแรกเมื่อปิดเทอมปลาย ขณะที่กำลังเรียนอยู่ในชั้นปีที่ 3
ครั้นถึงคราวพานักศึกษาชั้นปีที่ 3 GEAR 6 (รหัส186...) มาเริ่มเข้าค่ายนี้เมื่อ ช่วงปิดเทอมต้น(ก.ย. ถึง ต.ค.) ทุกสิ่งทุกอย่างยังเป็นธรรมชาติคงสภาพเดิม ดังเช่น ปีพ.ศ.2515
นักศึกษาเดินทางเข้ามาโดยรถบัสของมหาวิทยาลัยและคณะฯ และไปจอดส่งให้นักศึกษาและสัมภาระลงที่ถนนฯตรงฝายเหมืองหลวง แล้วจึงเดินตัดหมู่บ้านข้าม ลำเหมือง(ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน)ไปสู่ค่ายสำรวจต่อไป ทั้งนี้เพราะยังไม่มีถนนเลียบ ลำเหมือง
ส่วนรถขนาดเล็กที่ใช้บรรทุกเครื่องมือสำรวจ อุปกรณ์การครัว ตลอดจนรถส่วนตัวของอาจารย์ต้องเข้ามาทางลำลองด้านทิศใต้(ซึ่งขณะนี้ยังมีป้ายเขียนว่า “ค่ายสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” ปักไว้ให้เห็นอยู่) สิ่งก่อสร้างเช่น วิทยาลัยสารพัดช่าง ค่ายลูกเสือ และมหาวิทยาลัยราชมงคลลานนา วิทยาเขตจอมทองฯยังไม่มี มีแต่เพียงอ่างเก็บน้ำชลประทานขนาดเล็ก ป่าที่เราให้นักศึกษาใช้ฝึกทำการสำรวจยังคงอุดมสมบรูณ์ดี มีต้นไม้ขนาดใหญ่ ป่าไม้ ป่ารวก และต้นมะขามป้อม ซึ่งเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาในการใช้อมช่วยบรรเทาการกระหายน้ำได้
ถนนเป็นถนนดินปนทราย+กรวด+หิน จากปากทางถนนขึ้นดอยอินทนนท์จนถึงค่ายสำรวจ ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ใช้งานได้ตลอดปี โดยใช้เวลาเดินทางราว 10 ถึง 15 นาที บนเขาเป็นป่าเขียวขจี มีลำธารน้ำผิวดินทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่หลายสายไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งซึ่งมากกว่าไหลลงสู่ลำน้ำแม่กลาง จนถึงต้นและปลายฤดูหนาวในรูปของน้ำผิวดิน แต่ปริมาณลดลงมาก จนเข้าสู่ช่วงฤดูแล้ง(มี.ค. เม.ย. และพ.ค.)จึงจะหมดไป น้ำที่กรมชลประทานมาสร้างอ่างเก็บไว้ ประกอบกับน้ำจากลำเหมือง ฝายเหมืองหลวงมีส่วนช่วยให้ชาวบ้านได้ปลูกถั่วเหลืองและกระเทียม ได้ผลดีหลังฤดูการทำนาข้าวทุกปี
เราพานักศึกษารหัส186...จำนวนประมาณ 90 คน มาเข้าค่ายสำรวจ หมู่บ้านอีรางเป็นครั้งแรก ระหว่างเดือนก.ย. ถึง ต.ค. ปีพ.ศ.2520 ซึ่งเป็นช่วงปิดเทอมต้น เป็นเวลา 14 วัน
อาจารย์ที่มาเข้าค่ายในชุดแรกนี้ถ้าผู้เขียนจำไม่ผิด ประกอบด้วย อ.ปราโมทย์, อ.โกมล, อ.คำนึง, อ.เดชาวุธ, อ.เทอดศักดิ์(ศิษย์เก่ารุ่น GEAR 1), อ.ลำดวน, อ.สุเทพ และผู้เขียน รวม 8 คน ทำงานเกี่ยวกับ Topographic Mapของภูเขา ซึ่งเป็นงานที่มากและยากที่เดียว
ขณะนั้นยังไม่มีไฟฟ้าใช้ คณะวิศวฯมช.ต้องนำเอาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดกลางมาปั่นไฟใช้เอง(ช่วงเช้าประมาณ05.00 น จนถึง 08.00 น และช่วงค่ำประมาณ 18.00 น จนถึง 22.00 น)ทุกวัน พร้อมทั้งนำเครื่องสูบน้ำเข้ามาสูบน้ำจากลำเหมือง(แต่ต้องเสียค่าน้ำในรูปเหมาจ่าย ซึ่งไม่มากนัก) ขึ้นถังสูงติดบ้านพักอาจารย์ แล้วจึงจ่ายไปใช้งานในส่วนต่างๆ
ครูปฏิบัติการ 2 คน ได้แก่ ครูประทีป วัณวิโรจน์ และครูรักษา บุณโยทยาน(ที่มาแทนครูอับดุลมาลิก บูรณา ซึ่งถึงแก่กรรมไป) กับนักการภารโรง 1 คน
ส่วนเจ้าหน้าที่ธุรการได้แก่ คุณจันทร์นวล สาระพันธ์
ครัวที่มาทำอาหารให้รับประทาน มาจากครัวโรงอาหารของคณะวิศวฯมช.
ภายใต้การดำเนินการและควบคุมของอ.โกมล และอ.ปราโมทย์ ร่วมกันแงนักศึกษาทั้งหมดออกเป็น 8 Partyต่ออาจารย์ผู้ควบคุม 8 คน เราต้องทำงานนี้โดยไม่มีแผนที่คราวๆ หรือรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับพื้นที่ๆจะทำการสำรวจเลย นับเป็นงานในระดับProfessionalจริงๆ
งานขั้นแรกคือ การพาPartyงานของนักศึกษาทำการสำรวจภูมิประเทศคร่าวๆและตอกหมุดหลัก เพื่อเป็นทั้ง Horizontal Controlsและ Vertical Controlsคือหมุด A,B,C,D,F,GและHประมาณ 8 จุด นับตั้งแต่ทางเข้าพื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำ เข้าไปในพื้นที่ป่าเขา จนถึงบริเวณปากทางเข้าหมู่บ้านอีรางในปัจจุบัน แต่ละPartyจะต้องมีหมุดหลัก 4 จุดสำหรับพื้นที่ด้านใน และมีหมุดหลัก 2 จุดสำหรับพื้นที่ด้านนอก ส่วนหมุดที่เหลือของวงรอบ(±20 จุดโดยประมาณ) นักศึกษาแต่ละPartyจะเลือกกันเอง โดยความเห็นชอบของอาจารย์ผู้ควบคุม งานเบื้องต้นนี้เรียกว่า การสำรวจเบื้องต้น(Reconnaissance Survey) ซึ่งนักศึกษาจะต้องทำให้ดี ไม่เช่นนั้นจะเป็นปัญหาในการทำงานภายหลัง
วันรุ่งขึ้น และวันต่อมาของการทำงาน ประกอบด้วย :
ตารางการทำงานของนักศึกษาจะเป็นเช่นดังกล่าวทุกวัน ยกเว้นประมาณวันที่ 7 เป็นวันหยุดงานและพักผ่อน 1 วัน นักศึกษาจะเข้ามาในเมือง เที่ยวป่า เที่ยวน้ำตกก็ได้ ตามอัธยาศัย แต่จะต้องกลับมาให้ทันเช็คชื่อก่อน 18.00น ของวันรุ่งขึ้น
นักศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระเบียบวินัย และไม่ปฏิบัติตนฝ่าฝืนเป็นอย่างดี ยกเว้นนักศึกษากลุ่มหนึ่งประมาณ 5-6 คน ที่อยากลองของ ทำผิดตามข้อห้ามที่ 3 และถูกจับได้โดยถูกลงโทษสถานเบาด้วยการตักเตือน พร้อมทั้งเข้าค่ายแรงงานโยธาในการซ่อมสะพานและถนนบางจุดในพื้นที่เป็นเวลา 2-3 วัน จนกว่างานจะเสร็จภายใต้การควบคุมของอ.เดชาวุธ และอ.เทอดศักดิ์ การปฏิบัติการ “เชือดคอไก่ให้ลิงดู”ให้ผลดีมาก นอกจากการกลับเนื้อกลับตัวของนักศึกษากลุ่มนั้นแล้ว ยังไม่มีใครกล้าทำผิดตามข้อห้ามต่างๆอีกเลย