Civil Engineering CMU

การแข่งขันการสร้างอาคารจำลองต้านทานแผ่นดินไหว ในงาน 40 ปี วิศวฯ มช.

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทำการจัดการแข่งขันการสร้างอาคารจำลองต้านทานแผ่นดินไหว (Seismic Design Competition) โดยการแข่งขันนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานครบรอบ 40 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

ลักษณะการแข่งขันทุกทีมจะสร้างอาคารจำลองภายในเวลา 3 ชั่วโมง ในสถานที่และอุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ให้ เมื่อครบ 3 ชั่วโมง จะนำอาคารจำลองทั้งหมดมาทดสอบในการต้านทานแรงแผ่นดินไหว เพื่อแข่งขันว่าอาคารของทีมไหนสามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวได้ดีที่สุด

ภาพการแข่งขัน

ภาพการแข่งขันทั้งหมดสามารถชมได้ที่เฟซบุ๊กของภาควิชา - http://www.facebook.com/album.php?aid=43765&id=122967647756240

วิดีโอการแข่งขัน

วิดีโอการแข่งขันบางส่วนสามารถชมได้ที่ - http://www.youtube.com/watch?v=4QfAbjQLQUM

กติกาการแข่งขัน

คุณสมบัติของผู้เข้าแข่งขัน

  • ผู้เข้าสมัครอยู่ในระดับ ระดับมัธยมศึกษา หรืออุดมศึกษา (มัธยมปลาย อาชีวะ วิทยาลัย ปริญญาตรี ปริญญาโท) ที่กำลังศึกษาในประเทศไทย
  • ผู้เข้าแข่งขันสามารถแข่งขันเป็นบุคคลเดียว หรือเป็นทีมทีมละไม่เกิน 5 คน (หากมีนักศึกษาปริญญาโทในทีม ให้ทีมละไม่เกิน 2 คน)
  • ค่าสมัคร 100 บาท ต่อทีม 
  • ผู้เข้าแข่งขันต้องส่งตัวแทนเข้าอบรมวันที่ 1 ธันวาคม 2553

วันเวลา

  • 1-30  พฤศจิกายน  2553 - เปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขัน พร้อมรับกติกา
  • 1 ธันวาคม 2553 - วันอบรมเทคนิคการสร้างอาคารจำลอง
  • 2 ธันวาคม 2553 - วันทำการแข่งขัน ที่ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    • 09:30 - 13:00 น. - สร้างอาคารจำลอง
    • 13:00 - 16:00 น. - นำอาคารจำลองมาทดสอบแผ่นดินไหว

รางวัล

  • รางวัลที่ 1 - 6,000 บาท
  • รางวัลที่ 2 - 4,000 บาท
  • รางวัลที่ 3 - 2,000 บาท
  • ...รางวัลอื่น โดยรางวัลทั้งหมดรวมทั้งสิ้น 20,000 บาท

อุปกรณ์ในการแข่งขัน

  • รับได้ในวันที่แข่งขัน ทางภาควิชาจัดเตรียมไว้ให้

ผู้ร่วมแข่งขัน

ในการแข่งขันปี 2553 มีผู้เข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 141 คน ใน 36 ทีม จาก 4 สถาบันการศึกษา ได้แก่

  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ
  • โรงเรียนดาราวิทยาลัย
  • โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

ผลการแข่งขัน

  • รางวัลที่ 1 -
    • ทีม IO จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    • โดย รัตนพงษ์ ชั่งชั่ว, พลสัณห์ ช่างเหล็ก, พงษ์พันธ์ รงชัย, พิเชษฐ์ พึ่งสุข, วรุตม์ สารแก้ว
    • ต้านทานแรงแผ่นดินไหวระดับ 6
    • น้ำหนักอาคาร 8.73 กิโลกรัม
  • รางวัลที่ 2 -
    • ทีม Construction Teendoi สล่าตีนดอย จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ
    • โดย วีรพล ทวิว่อง, กิตติกร ไชยรักษา, ณัฐกิตติ์ วรพงษ์พิสุทธิ์, ดลเทพ ปุระดุก, คาวาวุฒิ เหมยฟอง
    • ต้านทานแรงแผ่นดินไหวระดับ 10
    • น้ำหนักอาคาร 8.86 กิโลกรัม
  • รางวัลที่ 3 -
    • ทีม โยกเยกเอย จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    • โดย ณัฐพล แสนคำมงคล, ไพศาล ถนอมใจ, จีระวรรณ มณีวอ
    • ต้านทานแรงแผ่นดินไหวระดับ 7
    • น้ำหนักอาคาร 8.80 กิโลกรัม
  • รางวัลที่ 4 -
    • ทีม App Man Ka จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    • โดย อนุรัตน์ อริยะวงศ์, วิสิทธิ์พงษ์ พลอร, วัชรพงศ์ นิชง, นพฤทธิ์ จุปา
    • ต้านทานแรงแผ่นดินไหวระดับ 6
    • น้ำหนักอาคาร 8.81 กิโลกรัม
  • รางวัลที่ 5 -
    • ทีม ก่อสร้างตีนดอย 1 จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ
    • โดย สุรินยัณห์ คำมา, พันเลิศ เทียนไชย, วีรพันธ์ กาญจนทักษิณ, สุบิน อินิจา, ณฐพล สิทธิ
    • ต้านทานแรงแผ่นดินไหวระดับ 10
    • น้ำหนักอาคาร 8.81 กิโลกรัม
  • รางวัลประสิทธิภาพสูงสุด -
    • ทีม ก่อสร้างตีนดอย 1 จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ
    • โดย สุรินยัณห์ คำมา, พันเลิศ เทียนไชย, วีรพันธ์ กาญจนทักษิณ, สุบิน อินิจา, ณฐพล สิทธิ
    • ต้านทานแรงแผ่นดินไหวระดับ 10
    • น้ำหนักอาคาร 8.81 กิโลกรัม
  • รางวัลความประหยัดสูงสุด -
    • ทีม IO จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    • โดย รัตนพงษ์ ชั่งชั่ว, พลสัณห์ ช่างเหล็ก, พงษ์พันธ์ รงชัย, พิเชษฐ์ พึ่งสุข, วรุตม์ สารแก้ว
    • ต้านทานแรงแผ่นดินไหวระดับ 6
    • น้ำหนักอาคาร 8.73 กิโลกรัม
  • รางวัลอาคารสวยงาม+ขวัญใจกรรมการ -
    • ทีม โยกเยกเอย จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    • โดย ณัฐพล แสนคำมงคล, ไพศาล ถนอมใจ, จีระวรรณ มณีวอ
    • ต้านทานแรงแผ่นดินไหวระดับ 7
    • น้ำหนักอาคาร 8.80 กิโลกรัม

จัดโดย

รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ ชมรมภาควิชาวิศวกรรมโยธา (โทรศัพท์ 08-4384-3925, 08-2039-0639, 08-4173-5680) หรือ ฝ่ายวิชาการของแต่ละโรงเรียน

คำสำคัญ: