Civil Engineering CMU

การสำรวจสมรรถภาพอาคารต้านทานแผ่นดินไหวขั้นต้นโดยวิธีสังเกตด้วยตาอย่างรวดเร็ว

Rapid Visual Screening of Buildings for Potential Seismic Hazards
ชื่อผู้แต่ง: 
นางสาวธนิดา ไชยมงคล
ชื่อผู้แต่ง: 
นายยศวดี ยศปัน
อาจารย์ที่ปรึกษา: 
รศ.ดร. ชยานนท์ หรรษภิญโญ
ประเภทงานวิจัย: 
โครงงานทางวิศวกรรมศาสตร์
สาขา: 
วิศวกรรมโครงสร้าง
ปีการศึกษา: 
2552
บทคัดย่อ: 

โครงงานวิจัยนี้ เป็นการสำรวจอาคารเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจำนวน 100 หลัง กระจายในพื้นที่เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อหาระดับความเสียหายที่เกิดขึ้นหากเกิดแผ่นดินไหว โดยการสำรวจอาคารเรียนนี้ได้นำวิธีการสำรวจอาคารเบื้องต้น (RVS: Rapid Visual Screening of Buildings for Potential Seismic Hazards) โดยกำหนดให้พื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่มี 2 ลักษณะ คือพื้นที่แผ่นดินไหวระดับต่ำ (Low Seismicity) และพื้นที่แผ่นดินไหวระดับปานกลาง (Moderate Seismicity)

ผลการสำรวจพบว่า ในการกำหนดให้พื้นที่สำรวจให้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวระดับต่ำ (Low Seismicity) มีอาคารเรียนจำนวนทั้งหมด 70% ที่ผ่านเกณฑ์การให้คะแนน และหากเกิดเหตุแผ่นดินไหวอาคารโดยส่วนใหญ่จะเกิดความรุนแรงในระดับ GRADE 1

แต่เมื่อกำหนดให้ พื้นที่สำรวจอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวระดับปานกลาง (Moderate Seismicity) มีอาคารจำนวนเพียง 7%เท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์การให้คะแนนและหากเกิดเหตุแผ่นดินไหวอาคารโดยส่วนใหญ่จะเกิดความรุนแรงในระดับ GRADE 3 แต่มีอาคารจำนวนถึง 23% ที่จะเกิดความรุนแรงในระดับ GRADE 5 ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ที่อาคารเหล่านี้ไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณา เนื่องจากมีความผิดปกติในแนวดิ่ง (Vertical Irregularity) และมีลักษณะความผิดปกติจากรูปแปลน (Plan Irregularity) อีกทั้งอาคารโดยส่วนใหญ่ สร้างก่อนที่จะมีการกำหนด กฎกระทรวง ฉบับที่ 49  (พ.ศ. 2540)