Civil Engineering CMU

การจัดการจราจรพิจารณาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกรณีพื้นที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Traffic Management with Consideration of Area Environment in Chiang Mai University Campus
ชื่อผู้แต่ง: 
นาย พีรพัฒน์ ปิงใจ
ชื่อผู้แต่ง: 
นาย ภานุพงศ์ ช่ำชองกิจ
อาจารย์ที่ปรึกษา: 
รศ.ดร. บุญส่ง สัตโยภาส
ประเภทงานวิจัย: 
โครงงานทางวิศวกรรมศาสตร์
สาขา: 
วิศวกรรมขนส่ง
ปีการศึกษา: 
2552
บทคัดย่อ: 

ปัญหาสภาพการจราจรในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นั้น นอกจากจะทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนสัญจรไปมาอย่างยากลำบากแล้ว ยังก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และปัญหามลภาวะทางสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในชั่วโมงเร่งด่วน และในบริเวณที่มีปริมาณรถหนาแน่น มีคนเดินถนนพลุกพล่าน งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการการจราจรเชิงพื้นที่ภายในเขตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ส่วนสวนสัก เพื่อให้พื้นที่มีสภาพแวดล้อมด้านการจราจรเหมาะสมกับการใช้พื้นที่ส่วนต่างๆ ของมหาวิทยาลัย โดยใช้แบบจำลอง Microscopic Traffic Simulation AIMSUNโดยกำหนดแนวทางการบริหารจัดการการจราจรในโครงข่ายแบบจำลองเส้นทางภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มาใช้ศึกษาเพื่อตอบสนองเป้าหมาย ซึ่งกำหนดให้พื้นที่ระหว่างหอสมุดและคณะสังคมศาสตร์เป็นเขตปลอดยานพาหนะและจัดโซนจอดยานพาหนะให้เหมาะสม

ได้เสนอวิธีการบริการจัดการจราจร (Traffic Management) เพื่อสนองต่อการเดินทางและให้สภาพแวดล้อมเป็นตามเป้าหมายประกอบด้วย (1) ปิดถนนบริเวณหน้าหอสมุดโดยจัดให้เป็นโซนปลอดรถวิ่ง (priority pedestrian separation) และกำหนดเวลาให้รถขนส่งสินค้า รถธนาคาร และอื่นๆเข้าเป็นเวลา (2) ลดความสะดวกสบายสำหรับผู้ใช้ยานพาหนะส่วนบุคคล โดยจัดโซนจอดรถตามจุดภายในพื้นที่ รวมถึงการเก็บค่าบริการ (Fee-charge Parking area)  (3) จัดที่จอดรถบริเวณทางเข้าพื้นที่ โดยให้บริการแบบฟรี (Free Parking Area) และมีบริการการขนส่งสาธารณะรับส่งตามจุด เพื่อความสะดวกสบายในการเดินทางเข้าสู่พื้นที่ (4) ด้านการจัดการควบคุมปริมาณยานพาหนะภายในพื้นที่ (Demand Management) และส่งเสริมให้นักศึกษาที่อยู่ภายในหอพักใช้รถขนส่งสาธารณะแทนการเดินทางด้วยยานพาหนะส่วนตัว (5) ระบายรถออกจากพื้นที่โดยการเปิดประตูคณะศึกษาศาสตร์

ได้วิเคราะห์ประสิทธิผลทางการจัดการจราจรโดยใช้แบบจำลอง AIMSUN โดยการพิจารณาค่าดัชนีด้านการจราจรคือ Average Speed,Density, Total Delay Time และ Total Number of stop ซึ่งพบว่าให้สภาพการจราจรที่ดีขึ้นโดยมีค่าความเร็วเพิ่มขึ้น และค่าความล่าช้าลดลง