Civil Engineering CMU

ระบบภูมิสารสนเทศสำหรับการอนุรักษ์วัดเชิงประวัติศาสตร์ในตัวเมืองเชียงใหม่

Geographic Information Systems for Conservation of Historical Temples in Chiang Mai City
ชื่อผู้แต่ง: 
นายอภิลาศ อายุศรี
ชื่อผู้แต่ง: 
นายบุญโชค ฉวีกุลมหันต์
อาจารย์ที่ปรึกษา: 
ผศ. สันติพงศ์ วิถียภัณฑ์
ประเภทงานวิจัย: 
โครงงานทางวิศวกรรมศาสตร์
สาขา: 
วิศวกรรมสำรวจ
ปีการศึกษา: 
2552
บทคัดย่อ: 

เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองเก่าที่มีประวัติศาสตร์มากว่า 700 ปีวัดและกำแพงเมืองโบราณของเมืองเชียงใหม่ ล้วนแล้วแต่มีคุณค่าทางด้านศิลปะและประวัติศาสตร์ ในอดีตที่ผ่านมาสิ่งก่อสร้างที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ได้ถูกปล่อยให้ทรุดโทรม หรือถูกทำลายไปหลายแห่ง ขาดการเอาใจใส่ให้ความสำคัญในการอนุรักษ์  สิ่งที่บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองและเรื่องราวต่างๆในอดีต ดังนั้น การอนุรักษ์วัดและกำแพงเมืองเชียงใหม่เพื่อให้ศิลปวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นอันดีงาม ตลอดจนการอนุรักษ์สิ่งก่อสร้างที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน จะต้องอาศัยข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างเหล่านั้น เพื่อใช้ในการวางแผนและจัดการอนุรักษ์ได้อย่างถูกต้อง การศึกษาระบบภูมิสารสนเทศสำหรับการอนุรักษ์วัดเชิงประวัติศาสตร์วัดในตัวเมืองเชียงใหม่ มุ่งเน้นในการสร้างฐานข้อมูลรวมทั้งรวบรวมข้อมูลของวัดภายในคูเมืองจังหวัดเชียงใหม่และกำแพงเมืองโบราณ โดยใช้โปรแกรม Google SketchUp Pro6 ร่วมกับโปรแกรม ArcGIS Desktop 9.2 ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวจะแสดงทั้งรายละเอียดของสิ่งปลูกสร้างในรูปแบบของ แบบจำลอง 3 มิติ ข้อมูลเชิงภาพ และข้อมูลเชิงบรรยาย ข้อมูลต่างๆในโปรแกรมสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับการบูรณะซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้างภายในวัดที่เกิดการทรุดโทรม รวมถึงใช้เป็นข้อมูลประกอบวางแผนพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ