โครงงานนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่า ซี.บี.อาร์. กับคุณสมบัติทางกายภาพของชั้นดินเดิม โดยใช้เทคนิคของ Bulletin No.26 Part Aหาค่า ซี.บี.อาร์. มาเปรียบเทียบกับการทดสอบเพื่อหาค่า ซี.บี.อาร์. โดยตรงตามมาตรฐานการทดสอบหาค่า ซี.บี.อาร์. ของกรมทางหลวงชนบท (มถ.(ท) 503-2550)ทั้งในสภาพแช่น้ำ และสภาพไม่แช่น้ำ โดยการบดอัดแบบ Modified และ Standard Proctor เพื่อให้หาค่า ซี.บี.อาร์. ได้ง่ายและรวดเร็วโดยไม่ต้องทำการทดสอบโดยตรงหาค่า ซี.บี.อาร์. ซึ่งใช้คุณสมบัติพื้นฐานทางกายภาพต่างๆ ของดินประเมินค่า ซี.บี.อาร์. นั่นคือค่า ค่า Plastic Index ค่า Linear Shrinkage และร้อยละที่ผ่านตะแกรง No.7 No.36 และ No.200 โดยที่ร้อยละที่ผ่านตะแกรง No.7 No.36 สามารถอ่านได้จากกราฟขนาดคละที่ได้จากการทดสอบ เพื่อให้เป็นตามเทคนิคของ Bulletin No.26 Part Aที่กำหนดไว้ โดยใช้ตัวอย่างดิน 6 ตัวอย่าง ซึ่งตัวอย่างดินที่ 1 และ 2 จะดำเนินการทดสอบตัวอย่างดินเพื่อหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้วยตนเอง ส่วนตัวอย่างดินที่ 3 – 6 นำมาจากงานบริการวิชาการ ของภาควิชาวิศวกรรมโยธามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากนั้นก็นำผลการทดสอบไปประเมินเพื่อหาค่า ซี.บี.อาร์.ตามเทคนิคของ Bulletin No.26 Part Aพบว่าผลวิเคราะห์มีความแปรปรวน เนื่องจากจำนวนตัวอย่างที่นำมาทดสอบมีจำนวนน้อย จนไม่สามารถสรุปได้ว่าเทคนิคของBulletin No.26 Part Aนำมาใช้กับดินในเชียงใหม่ได้หรือไม่ จึงต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป และในส่วนของวิธีการอื่นเช่น วิธีการของ NCHRP,Agarwal และ Ghanekar ผลการวิเคราะห์มีความแปรปรวนเช่นเดียวกัน