Civil Engineering CMU

การวิเคราะห์แนวโน้มของปริมาณน้ำท่าและปริมาณน้ำฝนสำหรับพื้นที่ลุ่มน้ำน่านตอนบน ด้วยวิธีแมน-เคนดอล

ชื่อผู้แต่ง: 
นางสาววรรณวิศา ศิริ
ชื่อผู้แต่ง: 
นางสาวศิริมาศ สร้อยคำ
อาจารย์ที่ปรึกษา: 
รศ.ดร. ธนพร สุปริยศิลป์
ประเภทงานวิจัย: 
โครงงานทางวิศวกรรมศาสตร์
สาขา: 
วิศวกรรมแหล่งน้ำ
ปีการศึกษา: 
2553
บทคัดย่อ: 

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มของปริมาณน้ำฝนและปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำน่านตอนบน แล้วทำการเปรียบเทียบแนวโน้มของปริมาณน้ำฝนและปริมาณน้ำท่าที่ได้ โดยใช้สถานีศึกษาจำนวน 4 สถานีเท่ากันคือสำหรับน้ำฝนมีสถานี28013 ,28022 , 28073 และ 28142  น้ำท่ามีสถานีN.13A,  N.1,  N.42 และสถานี N.49    ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลน้ำฝนและน้ำท่ารายปีในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2531ถึง ปี พ.ศ. 2545ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความต่อเนื่องกัน ในการศึกษาได้นำใช้วิธีการของแมน-เคนดอล มาใช้วิเคราะห์หาค่าแนวโน้ม โดยก่อนที่จะนำข้อมูลไปวิเคราะห์โดยวิธีการแมน-เคนดอล ได้จะต้องนำข้อมูลน้ำฝนไปหาค่าความสม่ำเสมอของข้อมูลโดยวิธีDouble mass curveก่อน จากนั้นนำไปตรวจสอบลักษณะการกระจายด้วยวิธีวิเคราะห์ความถี่แบบ Plotting Positionโดยใช้สูตรของ Weilbullเพื่อดูการกระจายของข้อมูลว่าเป็นแบบปกติหรือไม่ตามที่ได้ตั้งสมมติฐานไว้ แล้วนำไปหาแนวโน้มโดยวิธีการแมน-เคนดอล ส่วนข้อมูลน้ำท่าจะนำไปตรวจสอบลักษณะการกระจาย แล้วจึงนำไปหาค่าแนวโน้มโดยวิธีแมน – เคนดอล  ซึ่งผลที่ออกมาทำให้ทราบว่า ปริมาณน้ำท่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 2 สถานี คือ N.13A และสถานี N.42ส่วนสถานี N.1 และ N.49 ไม่มีแนวโน้ม  ส่วนปริมาณน้ำฝนไม่มีแนวโน้ม 1 สถานี คือ สถานี 28022และ 3 สถานีที่เหลือไม่สามารถสรุปได้ เมื่อทำการเปรียบเทียบแนวโน้มของปริมาณน้ำฝน และน้ำท่าที่อยู่ใกล้เคียงกันคือสถานี28022และสถานีน้ำท่า N13A ผลการวิเคราะห์แนวโน้มที่ได้ไม่สอดคล้องกันดังนั้น อาจเป็นไปได้ว่า ช่วงระยะเวลาของข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์นั้นสั้นเกินไปที่จะวิเคราะห์แนวโน้มด้วยวิธีแมนเคนดอล