Civil Engineering CMU

การทดสอบการเสื่อมสภาพเนื่องจากกรดซัลฟิวริกของโครงสร้างก่ออิฐถือปูน ที่ใช้ในโบราณสถานด้วยวิธีเร่ง (ระยะยาว)

Experimental Study on Deterioration of Historical Masonry Structures exposed to Sulfuric Acid by Accelerating Method
ชื่อผู้แต่ง: 
นายณัฐกร วรรณา
ชื่อผู้แต่ง: 
นายณัฐชัย ใจรักษา
อาจารย์ที่ปรึกษา: 
รศ.ดร. ปิติวัฒน์ วัฒนชัย
ประเภทงานวิจัย: 
โครงงานทางวิศวกรรมศาสตร์
สาขา: 
วิศวกรรมโครงสร้าง
ปีการศึกษา: 
2553
บทคัดย่อ: 

 

โบราณสถานที่เก่าแก่ในประเทศไทยที่พบเห็นกันโดยทั่วไป ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่ใช้อิฐและปูนในการก่อสร้าง ซึ่งเรียกว่า โครงสร้างก่ออิฐถือปูน โครงสร้างก่ออิฐถือปูนนี้ จะมีการเสื่อมสภาพตามกาลเวลาและสภาพแวดล้อม อย่างไรก็ตามปฏิกิริยาต่างๆ ที่ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพ เกิดขึ้นในอัตราที่ช้า หากจะศึกษาถึงความเสื่อมสภาพตามธรรมชาตินั้น จะต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนานและออกแบบการทดสอบความเสื่อมสภาพของโครงสร้างก่ออิฐถือปูนที่ใช้ ในโบราณสถาน เนื่องจาก กรดซัลฟิวริกด้วยวิธีเร่ง โดยศึกษาจากผลกระทบของกรดซัลฟิวริกต่อกำลังรับแรงของอิฐดิน

จากการทดสอบพบว่า การเร่งปฏิกิริยาการกัดกร่อนด้วยกรดซัลฟิวริกมีผลต่อน้ำหนักของตัวอย่างอิฐและปูน โดยในระยะแรก น้ำหนักของอิฐและปูนมีค่าเพิ่มขึ้น โดยปฏิกิริยาแบบเร่งมีการเพิ่มขึ้นในอัตราที่มากกว่าแบบธรรมชาติ แต่ในระยะยาวน้ำหนักของตัวอย่างอิฐและปูนมีค่าลดลง ส่วนผลจากการเร่งปฏิกิริยาทำให้กำลังรับน้ำหนักนั้น พบว่า กำลังรับน้ำหนักของตัวอย่างอิฐและปูนมีแนวโน้มของค่ากำลังรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลาแรกๆ และมีที่ลดลงหลังจากผ่านไปเป็นระยะเวลาระยะหนึ่ง และอัตราการลดลงของกำลังรับแรงอัดของการทดสอบความสามารถในการรับน้ำหนักที่ตำแหน่งความลึกต่างๆ ผิวนอก มีค่าเพิ่มขึ้นตามความลึกของอิฐ

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการเสื่อมสภาพของอิฐและมอร์ต้าร์ขึ้นอยู่กับระดับความลึกจากผิวสัมผัสและระยะเวลาที่ผ่านไป