การวิเคราะห์ความถี่ธรรมชาติ และการหาประสิทธิภาพการทำงาน ของโต๊ะจำลองแผ่นดินไหว ที่ช่วงความถี่ต่างๆ เป็นการวิเคราะห์ที่แบ่งการทำงานเป็น 2 แบบคือ การวิเคราะห์โดยการออกแบบโมเดลในโปรแกรม SAP2000 ที่มีขนาด และมิติ ที่เหมือนกับแผ่นฐานของโต๊ะเขย่าจำลองแผ่นดินไหว หลังจากนั้นเราจะวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของโต๊ะเขย่า โดยเราจะป้อนข้อมูลให้โปรแกรมวิเคราะห์จากค่าของคลื่น sine ที่มีความถี่ และแอมปลิจูดต่างๆ ที่ได้ออกแบบให้สอดคล้องกับค่าความรุนแรงของแผ่นดินไหว ตั้งแต่ 1-8ริกเตอร์ หลังจากนั้นเราจะเลือกจุดใดจุดหนึ่งในตัวโมเดลศึกษา มาวิเคราะห์ ว่าจุดที่เราสนใจศึกษานั้นมีการเคลื่อนที่เป็นอย่างไร รวมไปถึงการวิเคราะห์หาความถี่ธรรมชาติของโต๊ะเขย่า และนำข้อมูลที่ได้นั้นมาเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้จากการทำงานจริงของโต๊ะเขย่าจำลองแผ่นดินไหว และเปรียบเทียบค่าที่ได้ทั้งสองว่ามีความสัมพันธ์กัน และแตกต่างกันอย่างไร ในช่วงความถี่ต่างๆ โดยผลที่ออกมานั้นทำให้ทราบว่า โต๊ะเขย่าจำลองแผ่นดินไหว ไม่มีความถี่ธรรมชาติของโต๊ะอยู่ในช่วงความถี่ที่เราศึกษา ดังนั้นหากเราวิเคราะห์โมเดลแบบจำลองที่ใช้วางบนโต๊ะนี้ ก็จะไม่มีข้อมูลของโต๊ะมารบกวนข้อมูลของโมเดลที่ได้ และจากการศึกษาทำให้เราทราบถึงความต่างเฟส ( phase shift) ของการเคลื่อนที่ของโต๊ะ กับการเคลื่อนที่ของข้อมูลคำสั่ง ซึ่งมีค่าความต่างเฟส ( phase shift) มีค่ามากสุดที่ความถี่ 1Hz แอมปลิจูด 15 cm มีค่าความต่างเฟส อยู่ที่ 0.0667 วินาที และความสามารถในการทำงาน ของเครื่องดีที่สุดอยู่ที่ 1Hz แอมปลิจูด 20 cm มีค่าเท่ากับ 93.72% และความสามารถในการทำงาน ของเครื่องน้อยที่สุดอยู่ที่ 3Hz แอมปลิจูด 15 cm 21.56%