โครงการนี้เป็นการศึกษาสำรวจและการออกแบบแก้ไขปัญหาการกีดขวางทางน้ำในพื้นที่ ลำห้วยชะเยือง หมู่ที่ 10 บ้านพระเจ้านั่งโก๋น ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรองรับอัตราการไหลสูงสุด ในรอบปีการเกิดซ้ำ (Return Period = 10) โดยวิธีเรชั่นแนล (Rational Method) ร่วมกับ สมการของแมนนิ่ง (Manning’s Equation)เพื่อหาหน้าตัดที่เหมาะสมของระบบระบายน้ำ และเพื่อแก้ปัญหาการกีดขวางทางน้ำซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ดังกล่าว จากการสำรวจและการออกแบบในการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำหน้าตัดไปใช้ในการแก้ไขปัญหาการกีดขวางทางน้ำ เพื่อลดปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ศึกษานี้ หลังจากการสำรวจและการออกแบบหน้าตัดที่จุดต่างๆได้ผลดังนี้คือ จุดที่ 1 ลำห้วยสายที่ 1 ที่กิโลเมตร 0+050ได้ท่อลอดสี่เหลี่ยม กว้าง 2.00 เมตร สูง 1.75 เมตร จำนวน 3ท่อ ,จุดที่ 2 ลำห้วยสายที่ 1 ที่กิโลเมตร 0+080 – 0+350ได้รางน้ำรูปตัวยูขนาดกว้าง 4.00 เมตร สูง 2.00 เมตร ,จุดที่ 3 ลำห้วยสายที่ 1 ที่กิโลเมตร 0+350 – 1+028ได้รางน้ำรูปตัวยู ขนาดกว้าง 5.00 เมตร สูง 2.00 เมตร ,จุดที่ 4 ลำห้วยสายที่ 1 ที่ TP 0+000 จุดแรกที่เริ่มทำการสำรวจ ได้หน้าตัดสี่เหลี่ยมคางหมูชนิดดาดผิวด้วยหิน ขนาดกว้าง 4.00 เมตร สูง 2.00 เมตร ระยะกว้างบนสุดของหน้าตัด 12.25เมตร ,จุดที่ 5 ลำห้วยสายที่ 1 ที่ TP 0+700บริเวณปากทางน้ำออกสู่ แม่น้ำปิง ได้หน้าตัดสี่เหลี่ยมคางหมูชนิดดาดผิวด้วยหิน ขนาดกว้าง 5.00 เมตร สูง 2.00 เมตร ระยะกว้างบนสุดของหน้าตัด 13.25เมตร ,จุดที่ 6 ลำห้วยสายที่ 2 ที่กิโลเมตร 0+055ได้ท่อลอดวงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.80 เมตร จำนวน 2 ท่อ , จุดที่ 7 ลำห้วยสายที่ 2 ที่กิโลเมตร 0+055 - 0+325ได้รางน้ำรูปตัวยูขนาดกว้าง 1.30 เมตร สูง 1.20 เมตร , จุดที่ 8 ลำห้วยสายที่ 3 ที่กิโลเมตร 0+000 – 0+266ได้รางน้ำรูปตัวยูขนาดกว้าง 1.00เมตร สูง 1.00 เมตร และจุดที่ 9 ลำห้วยสายที่ 4ที่กิโลเมตร 0+000 – 0+132ได้รางน้ำรูปตัวยูขนาดกว้าง 1.00เมตร สูง 1.00 เมตร