โครงงานฉบับนี้เป็นการออกแบบระบบระบายน้ำในพื้นที่เขตลำห้วยแม่วาก และสาขา(ลำห้วยบง) หมู่4หมู่5และหมู่6หมู่บ้านป่าตันและหมู่บ้านวาก ต.ออนกลาง อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ โดยที่อ้างอิงข้อมูล จากสภาพพื้นที่จริงและแผนที่ภูมิประเทศ ประกอบกับข้อมูลจากการทำงานระดับและวงรอบ จากนั้นทำการออกแบบโดยวิธีเรชั่นแนล(Rational method) รวมกับสมการของแมนนิ่ง(Manning’s Equation) ในการคำนวณหาอัตราการไหลสูงสุดเพื่อนำไปออกแบบหน้าตัดของการระบายน้ำที่เหมาะสมต่อไป ในส่วนของการออกแบบระบบระบายน้ำ ได้ออกแบบเป็นทั้งประเภทรางเปิด รูปสี่เหลี่ยมคางหมู,รางน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กรูปตัวยู และสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยเลือกใช้ค่าReturn Period เท่ากับ 10ปี ซึ่งได้ผลดังนี้
ลำห้วยแม่วากกม 0+000.00 –0+332.50 ลักษณะเป็นรางน้ำรูปตัวยู กว้าง 4 เมตร ยาว 2 เมตร จากนั้น กม 0+347.50 –0+553.80 ลักษณะเป็นรางน้ำรูปตัวยู กว้าง 4.5 เมตร ยาว 2.2 เมตร เมื่อถึง กม 0+569.80 –2+634.00 รางน้ำจะมีลักษณะรูปตัวยู กว้าง 5.5 เมตร ยาว 2.2 เมตรและช่วงสุดท้ายของ ลำห้วยแม่วาก กม 2+649.00 –3+072.00ลักษณะเป็นรางน้ำรูปสี่เหลี่ยมคางหมู กว้าง 3.4 เมตร 2.2 เมตรส่วนห้วยบงกม 0+000.00 –0+124.80 ลักษณะเป็นรางน้ำรูปตัวยู กว้าง 2.5 เมตร ยาว 1.5 เมตร จากนั้น กม 0+124.80 –0+8171.6 ลักษณะเป็นรางน้ำรูปสี่เหลี่ยมคางหมู กว้าง 2 เมตร ยาว 1.5 เมตร
โครงงานฉบับนี้เป็นการออกแบบระบบระบายน้ำในพื้นที่เขตลำห้วยแม่วาก และสาขา(ลำห้วยบง) หมู่4หมู่5และหมู่6หมู่บ้านป่าตันและหมู่บ้านวาก ต.ออนกลาง อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ โดยที่อ้างอิงข้อมูล จากสภาพพื้นที่จริงและแผนที่ภูมิประเทศ ประกอบกับข้อมูลจากการทำงานระดับและวงรอบ จากนั้นทำการออกแบบโดยวิธีเรชั่นแนล(Rational method) รวมกับสมการของแมนนิ่ง(Manning’s Equation) ในการคำนวณหาอัตราการไหลสูงสุดเพื่อนำไปออกแบบหน้าตัดของการระบายน้ำที่เหมาะสมต่อไป ในส่วนของการออกแบบระบบระบายน้ำ ได้ออกแบบเป็นทั้งประเภทรางเปิด รูปสี่เหลี่ยมคางหมู,รางน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กรูปตัวยู และสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยเลือกใช้ค่าReturn Period เท่ากับ 10ปี ซึ่งได้ผลดังนี้
ลำห้วยแม่วากกม 0+000.00 –0+332.50 ลักษณะเป็นรางน้ำรูปตัวยู กว้าง 4 เมตร ยาว 2 เมตร จากนั้น กม 0+347.50 –0+553.80 ลักษณะเป็นรางน้ำรูปตัวยู กว้าง 4.5 เมตร ยาว 2.2 เมตร เมื่อถึง กม 0+569.80 –2+634.00 รางน้ำจะมีลักษณะรูปตัวยู กว้าง 5.5 เมตร ยาว 2.2 เมตรและช่วงสุดท้ายของ ลำห้วยแม่วาก กม 2+649.00 –3+072.00ลักษณะเป็นรางน้ำรูปสี่เหลี่ยมคางหมู กว้าง 3.4 เมตร 2.2 เมตรส่วนห้วยบงกม 0+000.00 –0+124.80 ลักษณะเป็นรางน้ำรูปตัวยู กว้าง 2.5 เมตร ยาว 1.5 เมตร จากนั้น กม 0+124.80 –0+8171.6 ลักษณะเป็นรางน้ำรูปสี่เหลี่ยมคางหมู กว้าง 2 เมตร ยาว 1.5 เมตร