Civil Engineering CMU

การวิเคราะห์ภาพถ่าย การหาการกระจัดของจุดและความเครียดบนผิวคานคอนกรีตเสริมเหล็ก

Image Analysis for Nodal Displacement and Strain 0n Reinforce Concrete Beam Surface
ชื่อผู้แต่ง: 
นางสาววันทนา จันทราช
ชื่อผู้แต่ง: 
นางสาวอัจฉราพรรณ วงศ์เปี้ยจันทร์
อาจารย์ที่ปรึกษา: 
รศ.ดร. ปิติวัฒน์ วัฒนชัย
ประเภทงานวิจัย: 
โครงงานทางวิศวกรรมศาสตร์
สาขา: 
วิศวกรรมโครงสร้าง
ปีการศึกษา: 
2554
บทคัดย่อ: 

โครงงานนี้แสดงถึงการวิเคราะห์ผลของการเคลื่อนตัวและการโก่งตัวของโครงสร้างโดยนำ ตัวอย่างของคานคอนกรีตเสริมเหล็กมาทำการทดลองโดยการวิเคราะห์ด้วยภาพถ่ายจากการใช้กล้องดิจิตัลสะท้อนเลนส์เดี่ยว 35 มม. ( 35 mm.Single Lens Reflex Camera )ผลการวิเคราะห์สรุปได้ดังนี้

จากการที่เลือกกล้องดิจิตัลสะท้อนเลนส์เดี่ยวถ่ายภาพเนื่องจากกล้องดิจิตัลสะท้อนเลนส์เดี่ยวเป็นอุปกรณ์มีความละเอียดสูง มีรายละเอียดชัดเจนด้วยความละเอียดที่สูงถึง21.1 ล้านพิกเซลให้ความคมชัดและคุณภาพที่ไม่ต่างกับการใช้ฟิล์มเหมาะอย่างยิ่งสำหรับภาพถ่ายที่ต้องการคุณภาพสูงผลจากโปรแกรมการวิเคราะห์ภาพถ่ายนั้น จะได้ข้อมูลที่เป็นพิกัดออกมา แล้วเมื่อนำมาวิเคราะห์จากเวลาเริ่มต้นถึงเวลาในขณะใดๆที่ใส่แรงกระทำ จะสามารถหาการโก่งตัวของโครงสร้าง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบจากกการวัดด้วยเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานแล้วจะพบว่ามีความคลาดเคลื่อนประมาณ ±6.74% ซึ่งเป็นที่ยอมรับในการใช้งานที่ต้องการความละเอียดสูง

โครงงานวิจัยนี้แสดงการวิเคราะห์ภาพถ่ายคานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ได้จากกล้องดิจิตัลความละเอียดสูง เพื่อหาระยะการกระจัดในแนวแกน X และแนวแกน Y ของโครงสร้างคานคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งผลการวิเคราะห์สรุปได้ดังนี้

ค่าระยะการกระจัดในแนวแกน Y ที่ได้จากการวิเคราะห์ภาพจากกล้องดิจิตัลความละเอียดสูง จะมีค่าใกล้เคียงกับค่าจริงที่วัดด้วย Dial gage โดยมีค่าความคลาดเคลื่อน 6.74%ของค่าที่วัดได้จริง

ค่าระยะการกระจัดในแนวแกน X ที่ได้จากการวิเคราะห์ภาพจากกล้องดิจิตัลความละเอียดสูง โดยค่าระยะการกระจัดในแนวแกน X ที่ได้จะมีความละเอียด จนสามารถนำมาวิเคราะห์หา Strain contour ได้ทั่วทั้งผิวคานคอนกรีตเสริมเหล็ก