เหมืองแม่เมาะเป็นเหมืองที่ต้องการขุดถ่านหินลิกไนต์มาใช้ประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้า แต่เนื่องจากบริเวณที่จะทำการขุดถ่านหินออกมานั้นอาจจะเกิดการวิบัติของลาดดินขณะทำการขุดได้ จึงต้องมีการทดสอบหากำลังของมวลดินที่นำกลับไปถมเพื่อนำไปวิเคราะห์เสถียรของลาดดินโดยการทดสอบนี้จะศึกษากำลังและพฤติกรรมรับแรงเฉือนของดิน โดยใช้วิธีการทดสอบการเฉือนโดยตรง (Direct Shear Test) ซึ่งจะสามารถหาค่าแรงเชื่อมแน่น (Cohesion) และมุมเสียดทานภายใน (Angle of Initial Friction)ซึ่งจะบอกถึงความสามารถในการรับแรงเฉือนของดิน จากการทดสอบเนื่องจากดินที่นำมาทดสอบมีลักษณะเป็นดินที่ไม่มีความเชื่อมแน่น (Cohesionless Soil) ค่า Cohesionจะใกล้เคียงกับค่าศูนย์ จากผลทดสอบขนาดดินผ่านตะแกรงเบอร์ 4 ค้างตะแกรงเบอร์ 10 ที่ความชื้น 26% มีค่ามุมเสียดทานเท่ากับ 44.76 ความชื้น 30% มีค่ามุมเสียดทานเท่ากับ 40.41ความชื้น 35% มีค่ามุมเสียดทานเท่ากับ 37.87และผลการทดสอบขนาดดินผ่านตะแกรงเบอร์ 4 ค้างตะแกรงเบอร์ 20 ความชื้น 26% มีค่ามุมเสียดทานเท่ากับ 45.84ความชื้น 30% มีค่ามุมเสียดทานเท่ากับ 44.33ความชื้น 35% มีค่ามุมเสียดทานเท่ากับ 40.55 โดยเมื่อความชื้นในมวลดินเพิ่มขึ้นมุมเสียดทานภายใน (Angle of Initial Friction) จะลดลง ส่งผลให้กำลังรับแรงเฉือนของดินลดลง เนื่องจากเมื่อมีน้ำในตัวอย่างมากขึ้นพื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างเม็ดดินจะลดน้อยลงทำให้การขัดกัน (Interlocking)ของเม็ดดินลดลง ส่งผลให้มุมเสียดทานภายใน (Angle of Initial Friction)ลดลงตาม เพราะฉะนั้นในการป้องกันไม่ให้กำลังรับแรงเฉือนของดินลดลงจะต้องมีการป้องกันมวลดินไม่ให้มีความชื้นเพิ่มมากขึ้น