ในการศึกษาเรื่องการวัดการตอบสนองทางพลวัตของระบบจำลองโครงสร้างแกนเดียวโดยเครื่องขับลม (Dynamic Response Measurement of Single Degree of Freedom Model by Pneumatic Actuator) เป็นโครงงานวิจัยต่อเนื่องจาก “การวัดการตอบสนองทางพลวัตและการจำลองคลื่นแผ่นดินไหวสำหรับแบบจำลองโครงสร้างอาคารบนโต๊ะเขย่า (Dynamic Response Measurement and Earthquake Simulation for Structural Model on Shake Table) ซึ่งผลจากการวิจัยเดิมมีความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพของแบบจำลองพอสมควร แต่ว่าการควบคุมปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อผลการวิจัยยังไม่เพียงพอ ทางผู้วิจัยจึงได้ทำการพัฒนาแบบจำลองแผ่นดินไหวต่อไปโดยการควบคุมแรงดันลมที่ใช้ในการขับเคลื่อนกระบอกสูบให้คงที่ ติดตั้งตัววัดระยะที่ประยุกต์จาก Fader volume แบบ Slide volume เพื่อวัดตำแหน่งการเคลื่อนที่ของกระบอกสูบในรูปแบบฟังก์ชันของเวลาและเพิ่มวงจร Zener Diode เพื่อให้ Accelerometer sensor ได้รับแรงดันไฟฟ้าที่คงที่ในการทำงาน ซึ่งจะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่ทำให้ข้อมูลอัตราเร่งที่ได้(ซึ่งใช้โปรแกรม LabVIEW ในการเก็บข้อมูลความเร่ง) คลาดเคลื่อนไปจากอัตราเร่งจริงได้ในระดับหนึ่ง และได้ทำการปรับเปลี่ยนฟังก์ชันต่างๆของโปรแกรม LabVIEWที่ใช้ในการเขย่าแบบจำลอง จากเดิมใช้กราฟฟังก์ชัน sine เปลี่ยนเป็นการใช้ฟังก์ชันของ Timing ในการควบคุมความถี่ของการเขย่า พร้อมทั้งมีการกำหนดตำแหน่งเริ่มต้นเพื่อควบคุมการเขย่าไม่ให้ลูกสูบเคลื่อนที่ ไป-กลับ กระแทกกับกระบอกสูบแล้วแปลค่าอัตราเร่งที่ได้เป็นค่าอัตราเร็วและตำแหน่งของแบบจำลองซึ่งเป็นรูปแบบฟังก์ชันของเวลา แล้วทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าอัตราเร่งและตำแหน่งในการเคลื่อนที่ของกระบอกสูบจากการเขย่าโต๊ะจำลองแผ่นดินไหวกับตัววัดระยะที่ประยุกต์ขึ้นเอง (ในที่นี้ใช้คลื่นshock wave ที่สร้างจากแบบจำลองมาใช้ในการวิเคราะห์) ซึ่งจากการทดสอบปรากฏว่าแบบจำลองแผ่นดินไหวจะมีประสิทธิภาพสูงสุดตามความสามารถเมื่อการทดสอบใช้แรงดันลม 1.6 barแบบจำลองแผ่นดินไหวสามารถเขย่าได้ที่ความถี่ 1 Hz–9Hzโดยที่ความถี่ 8Hz ให้คลื่นอัตราเร่งในการเขย่าโต๊ะจำลองแผ่นดินไหวใกล้เคียงกันกับ shock wave ของคลื่นแผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้นจริงที่เมือง Northridge ในสหรัฐอเมริกา ที่มีขนาดความรุนแรงถึง 6.7 ริกเตอร์