Civil Engineering CMU

การวิเคราะห์แรงแผ่นดินไหวแบบเทียบเท่าและแบบแรงกระทำด้านข้างแยกรูปแบบที่ถูกปรับปรุงของอาคารวัสดุผสมภายใต้แรงกระทำแผ่นดินไหวระดับต่ำถึงสูง

Seismic Equivalent Force and Pushover Analysis of Existing Hybrid Frame Building Under Low to High Seismic Force
ชื่อผู้แต่ง: 
นายสกานต์ จันธิยะ
ชื่อผู้แต่ง: 
นายสมชัย ปู่จ้อย
อาจารย์ที่ปรึกษา: 
อ. ธนวัช โพคะรัตน์ศิริ
ประเภทงานวิจัย: 
โครงงานทางวิศวกรรมศาสตร์
สาขา: 
วิศวกรรมโครงสร้าง
ปีการศึกษา: 
2554
บทคัดย่อ: 

การศึกษาวิธีการวิเคราะห์โครงสร้างอาคารผสมระหว่างโครงสร้างคอนกรีตกับโครงสร้างเหล็กสำหรับการวิเคราะห์การตอบสนองเชิงสถิตย์โดยใช้หลักของแรงสถิตเทียบเท่า(Equivalent static force)  และวิเคราะห์สถิตศาสตร์แบบไม่เป็นเส้นตรง  (Nonlinear Static Procedure) หรือ “Pushover Analysis”  มาเป็นแนวทางในการศึกษาและเป็นข้อกำหนดในการสร้างแบบโครงสร้างดังกล่าวขึ้นมา  และได้สร้างแบบจำลองโครงสร้างอาคารนี้ในโปรแกรมไฟไนท์อิลิเมนท์ SAP2000   จากนั้นจะทำการวิเคราะห์แรงจากน้ำหนักบรรทุกและแรงจากแผ่นดินไหวโดยใช้มาตรฐาน (Uniform  Building  Code  1994 )  สำหรับการวิเคราะห์การตอบสนองเชิงสถิตย์โดยใช้หลักของแรงสถิตเทียบเท่า (Equivalent static force)  มาเป็นตัววิเคราะห์โครงสร้างที่ถูกกระทำเนื่องจากแรงเทียบเท่าแรงแผ่นดินไหวและวิธี  Pushover analysis   นั้นได้นำเอาข้อมูลคลื่นแผ่นดินไหวในระบบ  UBC 94  มาเป็นเกณฑ์ที่จะผลักองค์อาคารให้เคลื่อนที่ไปด้านข้าง  เพื่อศึกษาดูว่าชิ้นส่วนไหนที่ได้รับแรงกระทำแล้วเกิดการวิบัติโดยตัวโปรมแกรมจะตรวจสอบค่าการวิบัติของโครงสร้างองค์อาคารให้   และจากผลการการวิเคราะห์หาองค์อาคารที่เกิดความเสียหายแสดงให้เห็นว่ามีโครงสร้างของอาคารในหลายชิ้นส่วนที่เกิดความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นเสา คาน  แสดงให้เห็นว่าผลการทดสอบดังกล่าวเป็นไปในทิศทางที่ต้องการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์   จึงสรุปได้ว่าการวิจัยครั้งนี้ได้ให้ผลการทดสอบเป็นไปในแนวทิศทางการวิเคราะห์โดยใช้หลักการของแรงสถิตเทียบเท่า (Equivalent static force) และหลักการของวิธี  Pushover analysis