ในงานโครงการศึกษานี้วิเคราะห์หาสัดส่วนการเดินทางโดยรถสาธารณะ ระหว่างกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยการพัฒนาแบบจำลองโลจิต สำหรับทำนายสัดส่วนเลือกของ 3 รูปแบบการเดินทาง คือ รถไฟ รถทัวร์ และเครื่องบิน ในการเก็บตัวอย่างนี้ได้ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 536 คน และใช้วิธีการเก็บแบบ SPพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกขึ้นอยู่กับ อายุ รายได้ ค่าโดยสาร และเวลาการเดินทางโดยแบบจำลองที่เหมาะสมที่สุดมีค่าเท่ากับ 0.2741มีความถูกต้องของการทำนายเท่ากับ 65.936% จากแบบจำลองที่ใช้เฉพาะตัวแปร Generic (มีค่าเท่ากับ 0.3053มีความถูกต้องของการทำนายเท่ากับ 65.936%) เฉพาะเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อหาค่าเวลา (V.O.T) พบว่าค่าเวลาแตกต่างตามอาชีพโดยมีค่าเท่ากับ 207.85, 317.08 , 283.25 , 178.90 , 181.78 และ 276.41บาท/ช.ม.สำหรับอาชีพ นักศึกษานักธุรกิจ ข้าราชการ ค้าขายพนักงานบริษัทและอาชีพอื่นๆตามลำดับ สำหรับแบบจำลอง Generic ของเวลาและค่าใช้จ่ายเดินทางรวมทุกอาชีพพบว่าเมื่อไม่คำนึงถึงค่าเวลาและค่าใช้จ่ายเดินทางผู้เดินทางมีความพึงพอใจเลือกเดินทางโดยเครื่องบิน รถไฟ และรถทัวร์ ลดหลั่นตามลำดับ โดยค่าคงที่ของสมการอรรถประโยชน์ เท่ากับ 0 , -0.69746 และ -0.71914ตามลำดับ การศึกษานี้ได้ประยุกต์รถไฟความเร็วสูง (HST) โดยสร้างสมการอรรถประโยชน์ของ HST ภายใต้สมมุติที่ฐานที่ว่าผู้เดินทางมีส่วนความพึงพอใจเลือก HST เท่ากับ เครื่องบิน และได้ประยุกต์คาดคะเนการเลือกใน 4 รูปแบบการเดินทาง ซึ่งสำหรับ HST ใช้เวลาการเดินทาง และค่าใช้จ่ายตามที่คาดคะเนโดยรัฐ พบว่าสัดส่วนการเดินทางของเครื่องบิน รถไฟความเร็วสูง รถทัวร์และรถไฟ เท่ากับ 51.79%, 43.80%, 2.76% และ 1.65% ตามลำดับ