Civil Engineering CMU

กำลังรับแรงดึงของไม้ไผ่ที่รักษาคุณภาพ เพื่อใช้เป็นโครงสร้างเสริมกำลัง

Tensile Strength of Treated Bamboo Rod for Reinforcement
ชื่อผู้แต่ง: 
นายจิรวัฒน์ เลิศทอง
อาจารย์ที่ปรึกษา: 
อ. ธนวัช โพคะรัตน์ศิริ
ประเภทงานวิจัย: 
โครงงานทางวิศวกรรมศาสตร์
สาขา: 
วิศวกรรมโครงสร้าง
ปีการศึกษา: 
2554
บทคัดย่อ: 

โครงการนี้เป็นการทดสอบเพื่อหากำลังรับแรงดึงของไม้ไผ่ที่รักษาคุณภาพเปรียบเทียบกับไม้ไผ่ที่ไม่ได้รักษาคุณภาพ เพื่อนำไปใช้เป็นโครงสร้างรับแรงและศึกษาคุณสมบัติค่าการต้านทานการเปลื่ยนรูปร่าง(Modulus of elasticity) และค่าความเหนียว (Modulus of resilience) มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับไม้ไผ่ที่ไม่ได้รักษาคุณภาพเพื่อดูว่าไม้ไผ่ที่ได้รักษาคุณภาพมีความคงทนเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด  

ซึ่งการรักษาคุณภาพของไม้ไผ่มี2 วิธี คือ การรักษาคุณภาพไม้ไผ่โดยการเคลือบด้วยกำมะถันและการรักษาคุณภาพไม้โดยการต้มในน้ำมันปาล์มที่ใช้ระยะเวลา 30 นาทีและ 60นาที ตัวอย่างที่นำมาทดสอบจะมีหน้าตัดเป็นวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 0.9 เซนติเมตร ยาว 1เมตร รูปแบบละ 3ตัวอย่าง แล้วนำไปทดสอบกำลังรับแรงดึง

โดยผลการทดสอบของไม้ไผ่ที่รักษาคุณภาพโดยการเคลือบด้วยกำมะถันมีกำลังรับแรงดึงลดลง30 เปอร์เซ็นต์ ค่า Modulus of Elasticity เพิ่มขึ้น 9 เปอร์เซ็นต์และค่า Modulus of Resilienceลดลง 45เปอร์เซ็นต์ ในส่วนของไม้ไผ่ที่รักษาคุณภาพโดยการต้มในน้ำมันปาล์ม30นาทีมีกำลังรับแรงดึงลดลง 33เปอร์เซ็นต์ ค่า Modulus of Elasticity เพิ่มขึ้น 24 เปอร์เซ็นต์และค่า Modulus of Resilienceลดลง 63เปอร์เซ็นต์และในไม้ไผ่ที่รักษาคุณภาพโดยการต้มในน้ำมันปาล์ม60นาทีมีกำลังรับแรงดึงลดลง 38 เปอร์เซ็นต์ ค่า Modulus of Elasticityเพิ่มขึ้น 10เปอร์เซ็นต์และค่า Modulus of Resilienceลดลง 64 เปอร์เซ็นต์