การบริหารจัดการวัสดุคงคลังในงานก่อสร้าง มีวัตถุประสงค์เพื่อการหาปริมาณการสั่งซื้อวัสดุแต่ละชนิดให้พอดีกับการใช้งานในแต่ละช่วงเวลา เพื่อไม่ให้เปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บ และไม่ให้เกิดปัญหาวัสดุก่อสร้างขาดมือ ทำได้โดยการนำข้อมูลต่างๆจากงานก่อสร้างมาวิเคราะห์ข้อมูลและนำไปคำนวณโดยวิธีการหาปริมาณการสั่งซื้ออย่างประหยัด (Economic Order Quantity model:EOQ) และ ทฤษฎีการหาจุดสั่งซื้อใหม่ (Reorder Point)
จากการคำนวณโดยวิธีการหาปริมาณการสั่งซื้ออย่างประหยัด (Economic Order Quantity model:EOQ) ปริมาณวัสดุก่อสร้างที่สั่งซื้อแบบปกติในแต่ละเดือนจะมีค่ามากกว่าปริมาณการสั่งซื้ออย่างประหยัด เนื่องจากวิธีEOQ จะลดปริมาณการสั่งซื้อให้ลดลงจากปริมาณการสั่งซื้อจริง และทำให้เราสามารถประหยัดเงินทุน พื้นที่คลังสินค้า ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ เนื่องจากไม่ต้องสั่งสินค้ามาเก็บไว้มากเกินกว่าปริมาณที่จำเป็น แต่ข้อมูลที่ได้รับมาจากงานก่อสร้างไม่สมบูรณ์และไม่เพียงพอ จึงต้องมีการปรับแก้ จึงทำให้อาจเกิดความคลาดเคลื่อนบ้าง และจากการสั่งซื้ออย่างประหยัด สามารถนำข้อมูลไปคำนวณทฤษฎีการหาจุดสั่งซื้อใหม่ (Reorder Point)ที่มีตัวแปรสำคัญคืออัตราความต้องการสินค้าคงคลังและเวลารอคอยได้จุดสั่งซื้อใหม่ การหาจุดสั่งซื้อใหม่(Reorder Point ) ทำให้ทราบว่า เมื่อใดที่วัสดุเหลือในคลังเท่ากับค่าจุดสั่งซื้อใหม่ที่คำนวณได้ จะต้องทำการสั่งซื้อสินค้าเท่ากับปริมาณการสั่งซื้ออย่างประหยัด (EOQ) ของวัสดุนั้น เพื่อป้องกันปัญหาวัสดุขาดมือขณะทำการก่อสร้าง แต่ข้อจำกัดของวิธีการสั่งซื้ออย่างประหยัด (EOQ)ใช้ได้ในกรณีที่อัตราการใช้วัสดุคงที่ ไม่มีความผันผวนของการปริมาณการใช้หรือมีความผันผวนน้อยมาก แต่ในโครงการจริงนั้นมีความต้องการใช้ในแต่ละวันแตกต่างกันดังนั้นการใช้วิธีอาจเกิดความคลาดเคลื่อนบ้าง