Civil Engineering CMU

การประเมินความสะดวกในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่

Walkability assessment in Chiang Mai old town.
ชื่อผู้แต่ง: 
นายกฤษณรักษ์ แสนคำ
ชื่อผู้แต่ง: 
นายจักรพงศ์ คำหล้า
ชื่อผู้แต่ง: 
นายชัชวาลย์ ก๋าใจ
อาจารย์ที่ปรึกษา: 
ผศ.ดร. ปรีดา พิชยาพันธ์
ประเภทงานวิจัย: 
โครงงานทางวิศวกรรมศาสตร์
สาขา: 
วิศวกรรมขนส่ง
ปีการศึกษา: 
2554
บทคัดย่อ: 

จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่จังหวัดหนึ่ง ที่มีประชากรจำนวนมาก จึงทำให้มีย่านธุรกิจ และแหล่งท่องเที่ยวเกิดขึ้นจำนวนมาก อีกทั้งยังทำให้การคมนาคมเกิดความคับคั่งตามมา ซึ่งการคมนาคมในตัวเมืองเชียงใหม่บางส่วนใช้การเดินเป็นทางเลือกในการสัญจรโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ดังนั้นการเดินจึงถือได้ว่าเป็นการคมนาคมขนส่งที่สำคัญอีกรูปแบบหนึ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในเขตเมืองเชียงใหม่ และเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณย่านธุรกิจและบริเวณคูเมืองทั้งรอบนอกและรอบใน

โครงงานนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาลักษณะทางกายภาพของทางเดินเท้าและการประเมินความสะดวกในการเดินโดยวิธี Global Walkability Index (GWI) ของธนาคารพัฒนาแห่งเอเชียหรือ ADB โดยทำการศึกษาลักษณะโครงสร้างพื้นฐานเช่น ความกว้างของทางเดิน ความสูงของทางเดิน และสิ่งกีดขวางบนทางเดินเท้า ส่วนการประเมินความสะดวกในการเดินนั้นได้พิจารณาโดยการให้คะแนนตามเกณฑ์มาตรฐานที่ปรับปรุงแล้วของสถาบันธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย โดยได้แบ่งเกณฑ์การให้คะแนนออกเป็นค่าของดรรชนีต่างๆ ดรรชนีที่ได้นำมาเป็นเกณฑ์พิจารณานั้นได้แก่ ความขัดแย้งกับโหมดสัญจรอื่น ๆ การมีทางเดิน (รวมการซ่อมบำรุงและรักษาความสะอาดของทางเดิน) ,การมีทางข้าม, Gradeความปลอดภัยในการข้ามถนนที่ระดับเดียวกับรถ,พฤติกรรมของยานยนต์,อุปกรณ์อำนวยคามสะดวก,อุปกรณ์หรือสิ่งก่อสร้างสำหรับผู้พิการ,อุปสรรคหรือสิ่งกีดขวางต่อการเดินและความปลอดภัยจากอาชญากรรม ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการเลือกพื้นที่ศึกษาในบริเวณถนนหลักรอบคูเมืองและถนนบริเวณเขตเมืองเก่า

จากการศึกษาพบว่า ผู้ใช้ทางเดินเท้าส่วนใหญ่ มีทั้งผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่ศึกษา นักเรียนที่มากวดวิชาที่สถาบันกวดวิชาบริเวณนั้นและนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในบริเวณพื้นที่โดยลักษณะทางกายภาพพื้นฐานของทางเดิน ส่วนใหญ่มีระดับเฉลี่ยอยู่ในช่วงที่ใกล้เคียงกันโดยเฉพาะถนนหลักบริเวณคูเมืองรอบนอก ซึ่งมีความกว้างเฉลี่ยอยู่ในช่วง 1.50 – 3.00 เมตร ความสูงเฉลี่ยแล้วอยู่ในช่วง 0.14-0.25เมตร ส่วนถนนหลักคูเมืองรอบในนั้นมีความกว้างเฉลี่ยแล้วอยู่ในช่วง1.50 – 3.00 เมตร ส่วนความสูงเฉลี่ยแล้วอยู่ในช่วง 0.14-0.25เมตร เช่นเดียวกันกับคูเมืองรอบนอกบริเวณที่อยู่ติดกับร้านค้าและบ้านเรือน ส่วนสิ่งกีดขวางเมื่อคิดเป็นร้อยละแล้วพบว่าต้นไม้เป็นสิ่งกีดขวางที่มีจำนวนมากที่สุดเมื่อคิดเป็นร้อยละโดยมีร้อยละ43.37ของสิ่งกีดขวางทั้งหมด ส่วนที่มีมากรองลงมาได้แก่เสาไฟฟ้า ร้อยละ 29.11 และรองลงมาได้แก่ ป้ายชนิดต่างๆร้อยละ 12.41 ,โคมไฟร้อยละ 8.19 ตู้โทรศัพท์ ร้อยละ 2.70,สัญญาณไฟจราจร ร้อยละ 2.17และ ตู้ชนิดต่างๆร้อยละ 2.04 ตามลำดับ ส่วนการประเมินความสะดวกต่อการเดินเท้าของถนนรอบนอกและรอบในคูเมืองนั้นพบว่าคะแนนเฉลี่ยของทางเดินบริเวณถนนรอบคูเมืองมีคะแนนอยู่ในช่วงปานกลาง ซึ่งอยู่ระหว่าง 59.5 – 71.8คะแนน ส่วนถนนรอบในบริเวณเขตเมืองเก่ามีระดับคะแนนอยู่ในช่วง 45.0 – 74.75คะแนน ดังนั้นจึงทำให้ทราบว่าลักษณะทางกายภาพและความสะดวกต่อทางเดินเท้าในบริเวณคูเมืองทั้งรอบนอกและรอบในนั้นอยู่ในระดับปานกลางซึ่งเหมาะสำหรับจำนวนผู้ใช้ในปัจจุบัน

ดังนั้นมาตาการที่ควรนำมาใช้ในการอำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้ทางเท้าในเมื่อเชียงใหม่นั้นควรจะเป็นการปรับปรุงทางเท้าซึ่งมีอยู่แล้วให้อยู่ในสภาพที่ดีขึ้น เดินได้อย่างสะดวกทางเดินควรมีความสะดาด สภาพพื้นผิวทางเท้าควรได้รับการบำรุงรักษาอย่างเต่อเนื่อง และควรมีการนำเอามาตรการของดรรชนีทั้ง 9 ตัวแปรมาพัฒนาอย่างจริงจังในเมืองเชียงใหม่เพื่อส่งเสริมเพื่อให้คนเดินพึงพอใจและไว้ใจในการเดินเท้าเพิ่มขึ้น