Civil Engineering CMU

ผลของการใช้เถ้าหินน้ำมันและกากหินน้ำมันจากแม่สอดเป็นสารผสมเพิ่มต่อกำลังอัดของมอร์ตาร์

Effect of Oil Shale Ash and Spent Shale as mineral admixture from Mae-sot on Compressive Strength of Mortar
ชื่อผู้แต่ง: 
นาย อภิชาติ แสงปัญญา
ชื่อผู้แต่ง: 
นาย อุดมทรัพย์ พานใหญ่
อาจารย์ที่ปรึกษา: 
รศ.ดร. ปิติวัฒน์ วัฒนชัย
ประเภทงานวิจัย: 
โครงงานทางวิศวกรรมศาสตร์
สาขา: 
วิศวกรรมโครงสร้าง
ปีการศึกษา: 
2554
บทคัดย่อ: 

โครงงานทางวิศวกรรมศาสตร์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของการนำกากและขี้เถ้าของหินน้ำมันมาเป็นส่วนผสมในงานคอนกรีตจาก 3 จุดที่ทำการเก็บตัวอย่าง    โดยศึกษาถึงผลของกากและขี้เถ้าต่อการพัฒนากำลังอัดของมอร์ตาร์   โดยงานวิจัยได้แบ่งใช้กากที่ผ่านการเผาแบบ Gasification ที่อุณหภูมิ 6000C และขี้เถ้าที่ผ่านกระบวนการเผาแบบให้ความร้อนโดยตรงที่อุณหภูมิ 1,0000C    แล้วนำมาบดให้มีขนาดเล็กกว่า 38ไมครอน (ร่อนผ่านตะแกรงเบอร์ 400)    จากนั้นนำมาทดสอบตามมาตรฐาน ASTM C109    การทดสอบหากำลังอัดของซีเมนต์ของมอร์ตาร์   โดยได้กำหนดค่าอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ไว้ที่ 0.5   และค่าโต๊ะการไหลไว้ที่ร้อยละ 105-115    พบว่ากากและขี้เถ้าของหินน้ำมันให้กำลังอัดในระยะแรกค่อนข้างช้าแต่จะให้กำลังสูงระยะหลัง   ซึ่งเป็นไปตามลักษณะของวัสดุปอซโซลาน   โดยอัตราการเกิดปฏิกิริยาขึ้นอยู่กับสัดส่วนการแทนที่ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ของกากและขี้เถ้าหินน้ำมัน   อีกทั้งพบว่าที่ระยะการบ่ม 56 วัน   ได้ให้ค่าที่ใกล้เคียงกับมอร์ตาร์ชุดควบคุมและยังสามารถพัฒนากำลังอัดต่อไปอีก