Civil Engineering CMU

ผลของขนาดและปริมาณของผงหินปูนและแคลเซียมซัลโฟอลูมิเนตต่อการหดตัวของมอร์ต้าร์ปรับระดับ

Effect of Size and Quantity of Limestone Powder and Calcium – Sulfoaluminate on Shrinkage of Self – Leveling Mortar
ชื่อผู้แต่ง: 
วรรณศิริ คำวังจันทร์
ชื่อผู้แต่ง: 
อัมพิกา บุญศรี
อาจารย์ที่ปรึกษา: 
รศ.ดร. ปิติวัฒน์ วัฒนชัย
ประเภทงานวิจัย: 
โครงงานทางวิศวกรรมศาสตร์
สาขา: 
วิศวกรรมโครงสร้าง
ปีการศึกษา: 
2554
บทคัดย่อ: 

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของขนาดและปริมาณผงหินปูนคละขนาดและแคลเซียมซัลโฟอลูมิเนตที่มีต่อคุณสมบัติของมอร์ต้าร์ปรับระดับในด้านของการหดตัว เนื่องจากมอร์ต้าร์ปรับระดับเป็นวัสดุที่รับแรงต่างๆมากมาย ดังนั้นเมื่อเกิดการหดตัวหรือขยายตัวในอัตราที่มากก็จะทำให้มอร์ต้าร์ปรับระดับนั้นมีคุณภาพที่ต่ำ ใช้งานได้ ไม่ดีหรือใช่ไม่ได้เลย ทำให้ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่าย ดังนั้นจึงได้มีการทดสอบหาการหดตัวของสารประกอบทั้งสองชนิด เนื่องจากเป็นสารที่ก่อให้เกิดการขยายตัวในเนื้อซีเมนต์เพสต์ โดยทำการทดสอบเปรียบเทียบขนาดของผงหินปูน 3 ขนาด คือ  25 ไมครอน, 15 ไมครอน และ8 ไมครอน ที่ร้อยละ0, 5, 10, 15, 20รวมกับอัตราส่วนของแคลเซียมซัลโฟอลูมิเนตที่ร้อยละ 0, 5 และ 10  จากนั้นนำส่วนผสมเหล่านี้รวมเข้ากับส่วนผสมอื่นเพื่อให้ออกมาเป็นมอร์ต้าร์ปรับระดับ ได้แก่ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 3, ทรายละเอียด, สารลดน้ำ Naphthalene sulfonate formaldehyde condensatesและอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน   ซึ่งเมื่อผสมเสร็จตามสูตรต่างๆแล้วจึงนำมอร์ต้าร์เหลวที่ได้เทลงในแบบหล่อ เพื่อทำให้เป็นแท่งตัวอย่างทดสอบเมื่อมอร์ต้าร์แข็งตัวแล้ว จากนั้นทำการแบ่งแท่งตัวอย่างออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่บ่มและไม่บ่มต่อหนึ่งสูตรการทดสอบ ซึ่งผลที่ได้พบว่า ผงหินปูนขนาด 15 ไมครอนเป็นผงหินปูนที่เหมาะสมต่อการนำมาใช้งานมากที่สุด เนื่องจากมีขนาดพอดี ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป สามารถปรับใช้ได้กับส่วนผสมในปริมาณต่างๆได้ดี และจากทดสอบยังพบว่าอัตราส่วนของสารแคลเซียมซัลโฟอลูมิเนตที่เพิ่มขึ้นสามารถช่วยลดการหดตัวของมอร์ต้าร์ได้ เนื่องจากสารแคลเซียมซัลโฟอลูมิเนตเป็นตัวเพิ่มการขยายตัวและชดเชยการหดตัวของมอร์ต้าร์ปรับระดับไปพร้อมๆกัน