Civil Engineering CMU

การใช้เศษอิฐมวลเบาเพื่อเป็นมวลรวมหยาบในงานคอนกรีต

THE USE OF LIGHTWEIGHT BRICK WASTE AS COARSE AGGREGATES IN CONCRETE WORK
ชื่อผู้แต่ง: 
ปรารถนา แสงบุญเรือง
ชื่อผู้แต่ง: 
พงษ์พัฒน์ มากาศ
อาจารย์ที่ปรึกษา: 
รศ.ดร. ปิติวัฒน์ วัฒนชัย
ประเภทงานวิจัย: 
โครงงานทางวิศวกรรมศาสตร์
สาขา: 
วิศวกรรมโครงสร้าง
ปีการศึกษา: 
2554
บทคัดย่อ: 

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาสมบัติทางกายภาพและสมบัติเชิงกลของอิฐมวลเบาโดยใช้เศษอิฐมวลเบามาแทนที่มวลรวมหยาบ ซึ่งเป็นส่วนผสมของคอนกรีต ซึ่งใช้เศษอิฐมวลเบาขนาด 3/4, 1/2และ 3/8 นิ้ว แทนที่หิน ร้อยละ 0, 20, 40 และ 60 และอัตราส่วนระหว่างน้ำต่อวัสดุประสาน เท่ากับ 0.35 โดยทำการคัดเลือกสัดส่วนผสมที่ดีที่สุด จากการพิจารณาคุณสมบัติต่างๆ คือ กำลังอัด โดยให้ค่ากำลังอัดของคอนกรีตที่อายุ 28 วัน จะต้องมีค่ามากกว่า 300 ksc  (ใช้ทำแผ่นคอนกรีตปูพื้น  อิฐบล็อก เป็นต้น), ร้อยละการแทนที่ของมวลรวมเบา จะต้องมีร้อยละการแทนที่ ที่มากสุด, ค่าการยุบตัวของคอนกรีต จะต้องอยู่ในช่วงระหว่าง 5 – 10 เซนติเมตร และ ค่าการไหลของคอนกรีต จะต้องอยู่ในช่วง 50 – 100 %

จากการศึกษาสมบัติทางกายภาพและสมบัติเชิงกลของอิฐมวลเบา พบว่า ค่าการยุบตัวของคอนกรีตเมื่อแทนที่เศษอิฐมวลเบาร้อยละ 20, 40 และ 60 อยู่ในช่วง 5-10 cm และ ค่าร้อยละการไหลแผ่ของคอนกรีตเมื่อแทนที่คอนกรีตมวลเบาร้อยละ 20, 40 และ 60 อยู่ในช่วง       50-100%ตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้

ร้อยละการแทนที่และขนาดของเศษอิฐมวลเบาทีเหมาะสมโดยเกณฑ์ที่กำหนดให้คอนกรีตสามารถรับกำลังอัดได้ 300 kscและมีร้อยละการแทนที่ที่มากที่สุดเพื่อให้ลดปริมาณของมวลรวมหยาบได้มากที่สุด   จึงสรุปได้ว่าที่ร้อยละ 40 ขนาด 3/8”  ของคอนกรีตที่มีการบ่ม เป็นสัดส่วนของการผสมคอนกรีตที่เหมาะสม

คำสำคัญ: