โครงการนี้เป็นการศึกษาสำรวจและการออกแบบแก้ไขปัญหาการกีดขวางทางน้ำในพื้นที่ลำห้วยแม่ท่าช้าง หมู่4 บ้านช่างคำหลวง และ หมู่ 5บ้านช่างคำน้อย ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรองรับอัตราการไหลสูงสุด ในรอบปีการเกิดซ้ำ(Return Period = 20) โดยวิธีเรชั่นแนล(Rationnal’s Method) ร่วมกับ สมการแมนนิ่ง(Manning’s Equation) เพื่อหาหน้าตัดที่เหมาะสมของระบบระบายน้ำ ในพื้นที่ลำห้วยแม่ท่าช้าง หมู่ 4 บ้านช่างคำหลวง และ หมู่ 5บ้านช่างคำน้อย ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อแก้ปัญหาการกีดขวางทางน้ำซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ดังกล่าว จากการสำรวจและการออกแบบในการศึกษาครั้งนี้็นสาปุสามารถนำหน้าตัดไปใช้ในการแก้ไขปัญหาการกีดขวางทางน้ำ เพื่อลดปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ศึกษานี้ได้ผลการศึกษาดังนี้ ท่อลอดสายที่ 2กม.ที่ 0+182 มีหน้าตัด กว้าง 1.5เมตร สูง 1.5เมตร ,ท่อลอดสายที่ 3กม.ที่ 0+392 มีหน้าตัด กว้าง 2เมตร สูง 2เมตร ,ท่อลอดสายที่ 3กม.ที่ 0+515 มีหน้าตัด กว้าง 2สูง 2เมตร ,ท่อลอดสายที่ 3กม.ที่ 0+674 มีหน้าตัด กว้าง 2 เมตร สูง 2เมตร ,ท่อลอดสายที่ 3กม.ที่ 1+093มีหน้าตัด กว้าง 2.5เมตร สูง 2เมตร ,ท่อลอดสายที่ 4กม.ที่ 1+503 มีหน้าตัด กว้าง 2เมตร สูง 2เมตรสำหรับรางน้ำที่ออกแบบได้มีดังนี้ รางน้ำสายใหญ่ ช่วง 0+000-0+125 มีหน้าตัด กว้าง 6เมตร สูง 3.2เมตร ,รางน้ำสายที่ 1 ช่วง 0+125-0+350 มีหน้าตัด กว้าง 5เมตร สูง 3เมตร ,รางน้ำสายที่ 2 ช่วง 0+000-0+225 มีหน้าตัดกว้าง 2.7สูง 2เมตร ,รางน้ำสายที่ 3ช่วง 0+000-1+150 มีหน้าตัด กว้าง 4เมตร สูง 2เมตร ,รางน้ำสายที่ 4ช่วง 0+410-1+525 มีหน้าตัด กว้าง 4เมตร 2เมตร