Civil Engineering CMU

ความสัมพันธ์ระหว่างค่าคูนเซลสแตบและค่าเอสพีทีสำหรับดินเหนียวแข็งเชียงใหม่

Relationship Between Kunzelstab Number and SPT Number for Stiff Chiang Mai Clay
ชื่อผู้แต่ง: 
นาย ธนต อ่อนอุระ
อาจารย์ที่ปรึกษา: 
รศ.ดร. ชิตชัย อนันตเศรษฐ์
ประเภทงานวิจัย: 
โครงงานทางวิศวกรรมศาสตร์
สาขา: 
วิศวกรรมธรณีเทคนิค
ปีการศึกษา: 
2555
บทคัดย่อ: 

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์ประการแรกคือเพื่อการปรับปรุงเครื่องมือ KUNZELSTAB DYNAMIC CONEซึ่งทำขึ้นที่ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้มีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้นเพื่อใช้ทดสอบสภาพดินแข็งได้โดยเครื่องมือไม่เกิดการเสียหายและประการที่สองเพื่อทดสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าคูนเซลสแตบ(NKUNZ)และค่าเอสพีที(NSPT)ของดินเหนียวแข็งเชียงใหม่ในบริเวณมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

                การปรับปรุงเครื่องมือ Kunzelstabจากเดิมให้มีความแข็งแรงเหมาะกับการใช้งานมากขึ้น โดยการเปลี่ยนมาใช้เหล็กเพลารถยนต์และออกแบบหัวเจาะ ก้านตอกใหม่ทั้งหมดเพื่อให้รับแรงกระแทกได้มากขึ้นและทำให้เกิดความเสียหายแก่อุปกรณ์น้อยที่สุด จากการเจาะดินสำรวจ 3หลุม ที่ความลึก 4เมตร ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ 1.บริเวณลาดจอดรถข้างตึกแหล่งน้ำภาควิชาวิศวกรรมโยธา  2.บริเวณข้างบ้านพักตรงสี่แยกทางไปคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  3.บริเวณใกล้ลานจอดรถบริการนักศึกษาข้างคณะวิจิตรศิลป์  พบว่าส่วนใหญ่เป็นดินจำพวก ดินเหนียวปนทราย(CL)และดินทรายปนดินเหนียว(SC)โดยมีค่าNKUNZอยู่ในช่วง 3-55 ครั้ง/20ซม. และค่า NSPTมีค่าอยู่ในช่วง 5-18 ครั้ง/30ซม. ความสัมพันธ์ระหว่างค่าNKUNZ และ NSPT ของดินทั้งสองชนิดมีแนวโน้มไปในทางเดียวกัน โดยสามารถแสดงได้ดังสมการN(SPT)= 0.4247N(Kunz)