โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการปรับปรุงเครื่องมือ KUNZELSTAB DYNAMIC CONEของภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และใช้ทดสอบหากำลังของดินบริเวณภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อนำผลการทดสอบไปวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างคูนเซลสแตบและค่ากำลังสำหรับดินเหนียวแข็งเชียงใหม่
การปรับปรุงเครื่องมือ KUNZELSTAB DYNAMIC CONEจากเดิมให้มีความแข็งแรงเหมาะกับการใช้งานมากขึ้น โดยการเปลี่ยนชนิดของเหล็กให้เป็นเหล็กเพลารถยนต์ในการทำก้านตอกใหม่ทั้งหมด และออกแบบหัวเจาะใหม่โดยฝังทังสเตนคาร์ไบด์ลงไปที่ปลายหัวเจาะ ให้รับแรงกระแทกได้มากขึ้น และทำให้เกิดความเสียหายแก่อุปกรณ์น้อยที่สุด จากการนำเครื่องมือ KUNZELSTAB DYNAMIC CONE ที่ปรับปรุงใหม่ไปทำการทดสอบ พบว่าเครื่องมือมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น หลังจากปฏิบัติการแล้วเสร็จพบว่าเครื่องมือไม่มีการชำรุด และจากการเจาะสำรวจดิน 3 ตำแหน่งในบริเวณมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ระดับพื้นผิวถึงระดับความลึก 4 เมตร ประกอบด้วย 1. บริเวณที่จอดรถตรงข้ามด้านข้างของตึกน้ำ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา 2. บริเวณบ้านพักอาจารย์อยู่ตรงทางขึ้นก่อนถึงคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 3. บริเวณที่จอดรถบริการนักศึกษาในคณะวิจิตรศิลป์ พบดินเหนียวปนทราย (CL) 52.63 %ดินทรายปนดินเหนียว (SC) 47.37 % พบว่ามีค่า N Kunzelstabอยู่ในช่วง 9-44และค่า qu (Unconfined Compressive Strength) อยู่ในช่วง 2.1-60.3 t/m2จากผลการทดสอบให้ค่าความสัมพันธ์ระหว่าง N Kunzelstabและ qu (Unconfined Compressive Strength) ไม่ชัดเจนโดยเฉพาะในดินทรายปนดินเหนียว (SC) ข้อมูลมีการกระจัดกระจายมาก ไม่สามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างN Kunzelstabและ qu (Unconfined Compressive Strength)ได้ สำหรับดินเหนียวปนทราย (CL) ค่าความสัมพันธ์ระหว่าง N Kunzelstabและ qu (Unconfined Compressive Strength) มีการกระจัดกระจายอยู่เป็นช่วงกว้างแต่อย่างไรก็ตามสามารถแสดงค่าความสัมพันธ์ระหว่าง N Kunzelstabและ qu (Unconfined Compressive Strength)ได้ออกมามีแนวโน้มดังสมการ y = 0.4741X + 21.455