Civil Engineering CMU

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้าช้าต่อการก่อสร้างในงานราชการ

Factors Affecting Construction Delay in Public Sector.
ชื่อผู้แต่ง: 
นาย จีรศักดิ์ คำเรืองศรี
ชื่อผู้แต่ง: 
นาย ธนาตย์ ทองเชื่อม
อาจารย์ที่ปรึกษา: 
ผศ.ดร. มานพ แก้วโมราเจริญ
ประเภทงานวิจัย: 
โครงงานทางวิศวกรรมศาสตร์
สาขา: 
วิศวกรรมและการบริหารการก่อสร้าง
ปีการศึกษา: 
2555
บทคัดย่อ: 

การทราบถึงปัจจัยที่เป็นสาเหตุของความล่าช้าของโครงการก่อสร้าง สามารถนำไปหาแนวทางป้องกันการเกิดความล่าช้า  ยังช่วยเรื่องการควบคุมค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด และยังทำให้การก่อสร้างแล้วเสร็จตามหมายกำหนดการที่ได้วางแผนไว้การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดความล่าช้าต่างๆในการก่อสร้างงานราชการ2)เพื่อศึกษาผลกระทบของปัจจัยต่างๆ และจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยทำให้เกิดความล่าช้าในการก่อสร้างงานราชการ3)เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขและลดปัจจัยที่ทำให้เกิดความล่าช้าในการก่อสร้างงานราชการ   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ วิศวกร สถาปนิก ผู้ควบคุมงาน ช่างเทคนิค รวมจำนวน37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามข้อมูล วิเคราะห์โดยใช้วิธีลำดับชั้นเชิงเชิงวิเคราะห์ Analysis Hierarchy Process (AHP)

ผลการวิเคราะห์การหาค่าลำดับความสำคัญของปัจจัยหลักแต่ละด้าน   คือ1) ด้านการจัดการ   2) ด้านบุคลากร  3) ด้านปัจจัยภายนอก  4)  ด้านเครื่องมือเครื่องจักร  5) ด้านเทคนิคการก่อสร้าง  จากข้อมูลพบว่า ถ้าเราพิจารณาเฉพาะปัจจัยหลัก  ปัจจัยด้านการจัดการ   มีความสำคัญมากที่สุดที่ทำให้เกิดความล่าในการก่อสร้างงานราชการ  แต่ถ้าเราพิจารณาลึกลงไปถึงปัจจัยรอง จะพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวกับด้านบุคลากร เช่น ปริมาณ คุณภาพและทักษะของบุคลากร  จะเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญลำดับต้นๆ ที่ทำให้เกิดความล่าในการก่อสร้างงานราชการ เช่นกัน

ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าผู้ควบคุมงานก่อสร้างและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรตระหนักถึงความสำคัญในการด้านการจัดการ  โดยเน้นให้ทุกฝ่ายภายในหน่วยงานราชการมีการวางแผนงานและวางแผนระยะเวลาการทำงานให้ที่เหมาะสมกับงาน ต้องให้ความสำคัญกับการจัดหาปริมาณบุคลากรในด้านต่างๆให้เพียงพอ และแบ่งการทำงานอย่างชัดเจน ต้องคัดเลือกบุคลากรที่มีคุณภาพ มีประสบการณ์การทำงาน และมีการฝึกอบรมการทำงานอย่างต่อเนื่อง   ต้องมีการศึกษาผลกระบทของปัญหาปัจจัยภายนอกและจัดหาแนวทางการแก้ไขไว้ก่อนการทำงาน   เครื่องมือเครื่องจักรควรมีการบริหารมีการจัดการและการวางแผนที่ดีก่อนการก่อสร้างต้องมีการเตรียมเครื่องมือเครื่องจักรให้เพียงพอต่อปริมาณการใช้งาน หากไม่เพียงพอ อาจต้องมีการเช่าเครื่องมือเครื่องจักรบางชนิดมาใช้งาน  มีการตรวจสอบอุปกรณ์ และเครื่องมือเครื่องจักรให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอก่อนมีการก่อสร้าง  เทคนิคการก่อสร้างควรมุ่งเน้นไปในเรื่องแบบก่อสร้างต้องมีการศึกษาแบบการก่อสร้างอย่างละเอียด และทำความเข้าใจให้ชัดเจนเมื่อเกิดเหตุการณ์ใดๆขึ้น  หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการก่อสร้าง ต้องมีผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำแนะนำ และแก้ไขปัญหาได้มีการออกแบบโครงสร้างชั่วคราว และศึกษาวิธีติดตั้งให้ดีก่อนเริ่มก่อสร้าง และเลือกใช้วัสดุ วิธีการที่เหมาะสมกับงานนั้นๆ