Civil Engineering CMU

การวิเคราะห์การเสริมกำลังจุดต่อโครงสร้างคาน-เสาคอนกรีต รับแรงแผ่นดินไหว

Analysis on Beam- Column Joint Strengthening for Seismic Resistance
ชื่อผู้แต่ง: 
นายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์
ชื่อผู้แต่ง: 
นายเอกพล แสงโชติ
อาจารย์ที่ปรึกษา: 
รศ.ดร. ชยานนท์ หรรษภิญโญ
ประเภทงานวิจัย: 
โครงงานทางวิศวกรรมศาสตร์
สาขา: 
วิศวกรรมโครงสร้าง
ปีการศึกษา: 
2555
บทคัดย่อ: 

 

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมและประสิทธิภาพในการเสริมกำลังด้วยแผ่นไฟเบอร์ของจุดต่อริมอาคารภายใต้แรงวัฏจักรที่มีพฤติกรรมการวิบัติแบบคานแข็ง-เสาอ่อนโดยวิธีไฟต์อิลิเมนต์แบบไร้เชิงเส้น โดยทำการวิเคราะห์แบบจำลองจุดต่อ 3 มิติทั้งหมดจำนวน 14 ตัวอย่าง รับแรงวัฏจักรตามข้อแนะนำของ ACI T1.1-01 ที่เสริมกำลังโดยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ หรือแผ่นไฟเบอร์ใยแก้วในรูปแบบและขนาดของแรงในแนวแกนแตกต่างกัน

ผลการวิเคราะห์พบว่าใน การเสริมกำลังจุดต่อด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ที่เสาและคานให้ประสิทธิภาพในการต้านทานแผ่นดินไหวดีที่สุด เนื่องจากสามารถย้ายตำแหน่งการวิบัติที่จุดต่อไปเกิดที่คานได้ตามหลักการคานอ่อน-เสาแข็ง ส่วนจุดต่อภายในอาคารนั้น วิธีการเสริมกำลังที่ให้ประสิทธิภาพในการต้านทานแรงแผ่นดินไหวมากที่สุด คือการหุ้มแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ที่เสา และไม่ควรเสริมกำลังด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ที่เสาและคาน เนื่องจากทำให้เสาเป็นจุดที่วิบัติและเกิดการวิบัติแบบเฉียบพลัน แต่หากมีแรงในแนวแกนที่สูงขึ้น จะทำให้เกิดแรงอัดบริเวณจุดต่อที่มากขึ้น ซึ่งการวิบัติที่จุดต่อได้ อาจเป็นผลเนื่องมาจาก การเสริมกำลังด้วยแผ่นไฟเบอร์เป็นการช่วยคอนกรีตในการรับแรงดึง จึงทำให้เมื่อมีแรงอัดที่มากกว่าความสามารถในการรับแรงอัดของคอนกรีตนั้น เกิดการวิบัติที่จุดต่อ