โครงงานฉบับนี้เป็นการศึกษาทฤษฎีต่างๆที่ใช้ในการวิเคราะห์ออกแบบสัญญาณไฟจราจร โดยวิเคราะห์ถึงปัญหาการติดขัดของทางแยก และ คำนวณรอบสัญญาณไฟจราจรรวมถึงการจัดรอบสัญญาณไฟจราจรให้สัมพันธ์กันในระบบทางแยกซึ่งตั้งอยู่เรียงกันในแนวตะวันออก-ตะวันตก ประกอบไปด้วยสามทางแยกและตั้งอยู่ใกล้กันมากโดยสภาพการจราจรของทางแยกทั้งสามเกิดการติดขัดอย่างมากในชั่วโมงเร่งด่วน
จากการศึกษาพบว่าสาเหตุเกิดจากรอบสัญญาณไฟจราจรที่ไม่สอดคล้องกับปริมาณการจราจรของทางแยก ทั้งนี้ตำรวจจราจรแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยใช้ตำรวจจราจรควบคุมสัญญาณไฟจราจรในชั่วโมงเร่งด่วนแต่สามารถปรับเปลี่ยนรอบสัญญาณไฟจราจรให้ทำงานประสานสัมพันธ์กันทั้งสามทางแยก และสอดคล้องกับปริมาณการจราจรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งกรณีที่ทำการศึกษาไว้ 3 กรณี ศึกษาสภาพการจราจรปัจจุบัน ศึกษาสภาพการจราจรหลังการปรับเปลี่ยนรอบสัญญาณไฟจราจร(สามทางแยก) และศึกษาสภาพการจราจรหลังการปรับเปลี่ยนลักษณะทางกายภาพ(สองทางแยก)โดยได้ผลจาการออกแบบดังนี้ในวันธรรมดาชั่วโมงเร่งด่วน มีรอบสัญญาณไฟหลังการปรับเปลี่ยนรอบสัญญาณไฟในทางแยกทั้งสาม180 วินาที 90 วินาที และ 90วินาทีตามลำดับ ได้ระยะเวลา Bandwidthสูงสุด 19.90 วินาที และในชั่วโมงปกติมีรอบสัญญาณไฟ 120 วินาทีทั้งสามทางแยก ได้ระยะเวลา Bandwidthสูงสุด 19.91 วินาที และหลังการปรับเปลี่ยนลักษณะทางกายภาพ ในชั่วโมงเร่งด่วนมีรอบสัญญาณไฟ 180 วินาที และ 180 วินาทีทั้งสองทางแยก ได้ระยะเวลา Bandwidthสูงสุด43.00 วินาที และในชั่วโมงปกติมีรอบสัญญาณไฟ 120 วินาทีทั้งสองทางแยก ได้ระยะ Bandwidth สูงสุด 30.00 วินาที
ผลจากรอบสัญญาณไฟที่ได้จากการออกแบบนำมาจำลองสภาพการจราจร เพื่อหาค่าความล่าช้าของสภาพการจราจรหลังการปรับเปลี่ยนรอบสัญญาณไฟมีค่าความล่าช้าลดลงจากสภาพการจราจรปัจจุบัน 57.25% ในชั่วโมงเร่งด่วน 13.02% ในชั่วโมงปกติ และหลังการปรับเปลี่ยนลักษณะทางกายภาพได้ค่าความล่าช้าลดลง 65.12% ในชั่วโมงเร่งด่วน 51.56% ในชั่วโมงปกติ