Civil Engineering CMU

พฤติกรรมของคันดินถมเสริมแรงด้วยโครงตาข่ายเส้นใยปอที่ ก่อสร้างบนดินอ่อน โดยใช้วิธีไฟไนท์อิลิเมนต์

Behavior of Kenaf LLGs Geogrid Constructed on Soft Ground Area by Finite Element Method
ชื่อผู้แต่ง: 
นางสาวธารหทัย มาลัยศิลป์
ชื่อผู้แต่ง: 
นางสาวพรรษชล ซื่อประสิทธิ์
อาจารย์ที่ปรึกษา: 
ผศ.ดร. ธวัชชัย ตันชัยสวัสดิ์
ประเภทงานวิจัย: 
โครงงานทางวิศวกรรมศาสตร์
สาขา: 
วิศวกรรมธรณีเทคนิค
ปีการศึกษา: 
2555
บทคัดย่อ: 

 

โครงงานฉบับนี้เป็นการศึกษาการวิเคราะห์เชิงตัวเลขของคันดินถมเสริมแรงด้วยKENAF LIMITED LIFE GEOSYNTHETICS (LLGs) โดยใช้ 2D PLAXIS SOFTWAREมีจุดประสงค์เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจในการใช้งานของโปรแกรม PLAXISและสามารถวิเคราะห์การเสียรูปและเสถียรภาพสำหรับงานคันดินที่เสริมกำลังด้วยวัสดุเสริมแรงได้

ในการวิเคราะห์พฤติกรรมการรับแรงด้วยโปรแกรมไฟไนต์อิเลเมนต์ (PLAXIS) ค่าที่ทำการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าการทรุดตัวของดินที่ระดับผิวดิน ที่ความลึก 3เมตรและ 6 เมตร ในส่วนของแรงดันน้ำส่วนเกินวิเคราะห์ที่ความลึกจากผิวดิน 3เมตรและ 6 เมตร และได้ทำการวิเคราะห์การเสียรูปด้วยวัสดุเสริมแรงด้วย  ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่าค่าที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยวิธีเชิงตัวเลข จาก PLAXIS 2D Program จะมากกว่าค่าที่ตรวจวัดได้ในสนามสำหรับการทรุดตัวของคันดิน  โดยที่ผิวดินจะมีอัตราการทรุดตัวสูงกว่าที่ระดับความลึก3เมตรและความลึก6เมตรจากผิวดินหลังจากการก่อสร้างอัตราของการทรุดตัวจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนถึง 200 วันและจากวันที่สิ้นสุดการก่อสร้าง  ในคันดินถมค่าความดันน้ำหลังจากสิ้นสุดวันก่อสร้าง7วัน (ความสูงของคันดินมากที่สุด)ความดันน้ำส่วนเกินจะเพิ่มไปยังจุดสูงสุดอย่างรวดเร็วโดยจะลดลงเร็วในระยะเวลา15 – 120 วันและหลังจาก120วันจะมีอัตราการลดลงของความดันน้ำส่วนเกินอย่างช้า ๆ จนกระทั่งหลังจาก 240 วัน ในส่วนของการวิเคราะห์การเคลื่อนตัวในแนวราบในระยะเวลา 15 วัน 30วันและ180 วัน  อัตราการเคลื่อนตัวในแนวราบจะมีค่าน้อยในส่วน Medium Stiff Clay และจะมีค่ามากในส่วนของ  Soft Clay ที่ความลึก  2  เมตรจากผิวดิน นอกจากนี้ในส่วนของคันดินที่มีความสูง  4  เมตร  จะเกิดการเคลื่อนตัวไปทางด้านข้างของคันดิน  โดยการเคลื่อนตัวในแนวราบจะเกิดขึ้นน้อยในชั้นดินแข็งที่มีความลึกมาก ซึ้งจะตรงข้ามกับชั้นดินอ่อนที่อยู่บริเวณใกล้ผิวดินจะมีการเคลื่อนตัวสูง  ในโครงสร้างของคันดินถมที่มีวัสดุเสริมแรงจะเกิดการเสียรูปของทั้งแนวราบและแนวดิ่ง  โดยเฉพาะบริเวณตรงกลางเส้นวัสดุเสริมแรงจะมีการเสียรูปมากที่สุด โดยขึ้นอยู่กับน้ำหนักที่กดทับ และระยะเวลาจากคันดินถมเมื่อเสริมแรงด้วย( Kenaf  LLGs )  จะมีค่าความปลอดภัยมากกว่าคันดินที่ไม่ได้เสริมแรง  เนื่องด้วยคันดินที่เสริมแรงจาก( Kenaf LLGs ) ก็จะช่วยในการเพิ่มความแข็งแรงให้กับคันดิน และยังลดอัตราการพังทลายของคันดินได้ในระดับหนึ่งเมื่อทำการวิเคราะห์ค่าความปลอดภัยภายหลังจากการก่อสร้างเสร็จสิ้น ค่าสัดส่วนความปลอดภัยจะมีค่าน้อยที่สุดเมื่อระยะเวลา 7วันภายหลังจาการถมดินชั้นสุด และจะมีค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยจนกระทั่งคงที่ตามเวลา ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมของการก่อสร้างคันดินถมบนพื้นที่ดินเหนียวอ่อน