ในปัจจุบันมีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆมากมายในบริเวณมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาทิเช่น การปรับพื้นที่เพื่อสร้างอาคาร , การทำคันดิน เป็นต้น ในงานก่อสร้างต่างๆนั้นมักจะมีการนำดินจากภายนอกเข้ามาใช้ในการก่อสร้าง โครงงานนี้จะศึกษาถึงความเหมาะสมของการนำดินในบริเวณมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มาทำการก่อสร้าง โดยมีการจัดเก็บตัวอย่างดินใน 2 พื้นที่ได้แก่ บริเวณข้างลานจอดรถคณะวิศวกรรศาสตร์ที่ความลึก 1.00– 1.20 เมตร จำนวน 1 หลุม และบริเวณริมรั้วฝั่งประตู ปตท ที่ความลึก 1 – 1.20 เมตร จำนวน 1 หลุม และ บริเวณข้างลานจอดรถคณะวิศวกรรศาสตร์ที่ความลึก 1.5 – 1.80 เมตร จำนวน 1 หลุม แล้วนำตัวอย่างดินมาปรับปรุงคุณภาพโดยวิธีการบดอัดแบบสูงกว่ามาตรฐาน เพื่อให้ทราบค่าความหนาแน่นแห้งสูงสุดและค่าปริมาณความชื้นที่เหมาะสม จากนั้นทำการทดสอบเพื่อหากำลังของดินโดยวิธีทดสอบแบบแรงอัดแกนเดียวของตัวอย่างดินที่บดอัด 90%ด้านแห้งและเปียก และที่ 95%ด้านแห้งและเปียก
ผลการทดสอบได้ค่ากำลังรับแรงอัดแกนเดียว (qu) ในบริเวณมหาวิทยาลัยเชียงใหม่สรุปผลได้ดังนี้ การทดสอบของตัวอย่างบริเวณข้างลานจอดรถคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ความลึก 1.00 – 1.20 เมตร ซึ่งเป็นดินประเภท ML ค่ากำลังรับแรงอัดแกนเดียวของตัวอย่างดินที่บดอัด 90% ด้านแห้งมีค่าเท่ากับ 4.0 ตัน/ตร.เมตร , 90% ด้านเปียกมีค่าเท่ากับ 10.6 ตัน/ตร.เมตร ค่ากำลังรับแรงอัดแกนเดียวของตัวอย่างดินที่บดอัด 95% ด้านแห้งมีค่าเท่ากับ 33.8 ตัน/ตร.เมตร ,95% ด้านเปียกมีค่าเท่ากับ 18.4 ตัน/ตร.เมตร การทดสอบของตัวอย่างบริเวณริมรั้วฝั่งประตู ปตท ที่ความลึก 1.00– 1.20 เมตร ซึ่งเป็นดินประเภท ML ค่ากำลังรับแรงอัดแกนเดียวของตัวอย่างดินที่บดอัด 90% ด้านแห้งมีค่าเท่ากับ 11.0 ตัน/ตร.เมตร ,90% ด้านเปียกมีค่าเท่ากับ 11.4 ตัน/ตร.เมตร ค่ากำลังรับแรงอัดแกนเดียวของตัวอย่างดินที่บดอัด 95% ด้านแห้งมีค่าเท่ากับ 23.6 ตัน/ตร.เมตร,95% ด้านเปียกมีค่าเท่ากับ 19.4 ตัน/ตร.เมตร การทดสอบของตัวอย่างบริเวณข้างลานจอดรถคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ความลึก 1.50 – 1.80 เมตร ซึ่งเป็นดินประเภท CL-MLค่ากำลังรับแรงอัดแกนเดียวของตัวอย่างดินที่บดอัด 90% ด้านแห้งมีค่าเท่ากับ 40.4 ตัน/ตร.เมตร,90% ด้านเปียกมีค่าเท่ากับ 9.0 ตัน/ตร.เมตร ค่ากำลังรับแรงอัดแกนเดียวของตัวอย่างดินที่บดอัด 95% ด้านแห้งมีค่าเท่ากับ 76.6 ตัน/ตร.เมตร,95% ด้านเปียกมีค่าเท่ากับ 14.6 ตัน/ตร.เมตร
ดินที่บดอัดด้านแห้งมีค่ากำลังรับแรงอัดแกนเดียวมากกว่าดินที่บดอัดด้านเปียก เมื่อมีความหนาแน่นเท่ากัน เนื่องจากหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความต้านทานแรงเฉือนของดินที่ว่ามวลดินที่มีความชื้นต่ำย่อมมี ความแข็งแรงมากกว่ามวลดินชนิดเดียวกันที่มีค่าความชื้นสูงกว่าหรือความต้านทานแรงเฉือนแรงเฉือนของมวลดิน ขึ้นอยู่กับความชื้นของมวลดินนั่นเอง แต่มีข้อจำกัดคือดินต้องเป็นดินเหนียว แต่ตัวอย่างดินบางตัวอย่างที่นำมาทดสอบนั้นเป็นดินชนิด ML เป็นดินที่ไม่ใช้ดินเหนียว จึงทำให้ ผลการทดสอบที่ 90%ของด้านแห้งมีค่าน้อยกว่าด้านเปียก แต่ที่ 95%ผลการทดสอบของด้านแห้งมีค่ามากกว่าด้านเปียกดังนั้นจึงเป็นไปตามทฤษฎี