โครงการวิจัยนี้เป็นการศึกษาการทดสอบและประเมินหาค่าเสถียรภาพของเขื่อนแม่จอกหลวงเพื่อทราบถึงลักษณะและคุณสมบัติของต่างๆของชั้นดิน โดยพื้นที่ศึกษาอยู่ใต้ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งทำการขุดเจาะเพื่อเก็บตัวอย่างดินจากสันเขื่อแม่จอกหลวงโดยใช้วิธี Wash Boring แล้วทำการเก็บตัวอย่างดินแบบ Undisurbed Sample เพื่อไปหาคุณภาพสมบัติพื้นฐานของดินในห้องปฏิบัติการ แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการประเมินหาค่าเสถียรภาพของเขื่อนแม่จอกหลวง โดยใช้โปรแกรม Plaxis ด้วยวิธี Finite element จาการศึกษาและการวิเคราะห์ค่า STP แสดงให้เห็นถึงชั้นดินของเขื่อนแม่จอกหลวงนั้นมีลักษณะเป็นดินเนื้อเดียวกันตลอดเพียงชั้นเดียว โดยมีความสูงของชั้นดิน 18 m และดินส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นดินเหนียวปนทราย ซึ่งค่าการทดสอบในห้องปฏิบัติการได้ค่า specific gravity เท่ากับ 2.63 ,ค่า LL ประมาณ 30 ,ค่า PL ประมาณ 15 ,ค่า cohesion (c) เท่ากับ 4.25 T/m2 และค่า angle of friction เท่ากับ 10.41 องศา เมื่อนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Plaxis โดยวิธี Finite Element พบว่า กรณีแรงกระทำต่อเขื่อนที่ระดับกักเก็บน้ำสูงสุดมีการเคลื่อนที่ไปในแนวราบและเกิดการทรุดตัวในแนวดิ่งเป็นระยะ 405.37 และ 222.10 มิลลิเมตร ตามลำดับ และมีค่า F.S. เท่ากับ1.68 สำหรับกรณีแรงกระทำต่เขื่อนเนื่องจากแผ่นดินไหวที่ระดับกักเก็บน้ำสูงสุดที่ขนาด 4, 5, 6 และ7 ริกเตอร์ มีการเคลื่อนที่ไปในแนวราบเป็นระยะ 409.12, 420.28,480.17 และ556.96 มิลลิเมตร ตามลำดับ มีค่าการทรุดตัวในแนวดิ่งเนื่องจากแผ่นดินไหวที่ระดับกักเก็บน้ำสูงสุดที่ขนาด 4,5,6 และ 7 ริกเตอร์ มีค่า 222.01, 221.73, 220.21 และ218.43 ตามลำดับ และมีค่า F.S. เนื่องจากแผ่นดินไหวที่ระดับกักเก็บน้ำสูงสุดที่ขนาด 4,5,6 และ7 ริกเตอร์ เท่ากับ 1.68, 1.68, 1.59, และ 1.37 ตามลำดับ เมื่อนำค่า F.S. ไปเปรียบเทียบค่าอัตราส่วนความปลอดภัยต่ำสุดที่ยอมรับได้ทั้ง 2 กรณี เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานจึงถือว่าเขื่นแม่จอกหลวงมีความปลอดภัย ผลการศึกษาวิจัยนี้เป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้นที่จะนำข้อมูลไปใช้ในการประเมินหาค่าเสถียรภาพในระดับสูงต่อไป หากจะมีการก่อสร้างหรือซ่อมแซ่มเขื่อนสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการออกแบบการปรับปรุงและบำรุงรักษาอ่างเก็บน้ำต่อไป 0kdd