Civil Engineering CMU

กรณีศึกษาการวิเคราะห์การต้านทานแรงแผ่นดินไหวของอาคารโครงสร้างแบบผสม ตามกฎกระทรวงฯ เรื่อง การกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2550

The Case Study of Seismic Resisting of Hybrid Structural System Building Bearing Specification, Resistance and Durability of the Building and Foundation for Seismic Vibrations by Thai Acts (2550)
ชื่อผู้แต่ง: 
นายสิทธิราช สักงาม
ชื่อผู้แต่ง: 
นายอาทิตย์ จอมใจป้อ
อาจารย์ที่ปรึกษา: 
อ. ธนวัช โพคะรัตน์ศิริ
ประเภทงานวิจัย: 
โครงงานทางวิศวกรรมศาสตร์
สาขา: 
วิศวกรรมโครงสร้าง
ปีการศึกษา: 
2555
บทคัดย่อ: 

กรณีการศึกษาอาคารสำนักงานแห่งหนึ่ง ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความสูง 5 ชั้นซึ่งเป็นอาคารแบบผสมระหว่างคอนกรีตกับเหล็กรูปพรรณ โดยสมมุติโมเดลออกเป็น 2แบบ คือโมเดลที่มีจุดฐานรองรับแบบจุดยึดหมุน (Pin Support) และโมเดลจุดฐานรองรับแบบสปริง (Spring Support) ซึ่งได้มาจากการสำรวจชั้นดินในบริเวณที่ตั้งอาคาร จากนั้นก็นำแบบโมเดลของอาคารไปวิเคราะห์ในการรับแรงแผ่นดินไหวตามกฎกระทรวงฯ ฉบับปี พ.ศ. 2550 และแรงลมตาม UBC-1994โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์ ผลปรากฎว่า ในรูปแบบที่เป็น Pin Support นั้นอาคารมีความเสียหายในด้านกำลังของชิ้นส่วนทั้งหมด 127 ชิ้น จากทั้งหมด 785 ชั้น คิดเป็น 16.18% ในรูปแบบที่เป็น Spring Support นั้นอาคารมีความเสียหายทั้งหมด 166 ชิ้น จากทั้งหมด 785 ชิ้น คิดเป็น 21.15%  มีความแตกต่างกันโดยที่แบบ Spring Support มีความเสียหายมากกว่า Pin Support  อยู่ 4.97%ส่วนในการวิเคราะห์ในเรื่องของการเคลื่อนตัวด้านข้างสัมพัทธ์นั้นพบว่าแบบ Pin Support นั้น มีค่าการเคลื่อนตัวด้านข้างสัมพัทธ์ในกรณี EQX และ EQY ผ่านทั้งหมด และแบบ Spring Support ในกรณี EQZ และ EQY ผ่านทั้งหมด ยกเว้นกรณี EQX ในชั้นที่ 4ที่การเคลื่อนตัวด้านข้างสัมพัทธ์ไม่ผ่าน และได้วิเคราะห์เป็นแบบแรงรวม (Envelope) โดยโมเดลแบบ Pin Support มีการเคลื่อนตัวด้านข้างสัมพัทธ์ที่ไม่ผ่านคิดเป็น 34.38% และโมเดลแบบ Spring Support  มีการเคลื่อนตัวด้านข้างสัมพัทธ์ที่ไม่ผ่านคิดเป็น 75% แตกต่างกัน 40.62%และผลของการวิเคราะห์ในด้านพลศาสตร์นั้น พบว่า คาบการสั่นใน Mode ที่ 1แบบ Pin Support มีคาบการสั่นอยู่ที่ 1.549298วินาทีSpring Support มีคาบการสั่นอยู่ที่ 1.671195วินาที แตกต่างกัน 7.29% โดยที่ผลดังกล่าว จากการคำนวณตามกฎกระทรวงฯ ฉบับปี พ.ศ. 2550 มีคาบการสั่นเท่ากับ 1.02 วินาที ในกรณี EQX และ 0.62 วินาที ในกรณี EQY  มีค่าที่ต่างกันอยู่ 41.94%และ 67.74% ตามลำดับ