โครงการวิจัยนี้เป็นการศึกษาการทดสอบและประเมินหาค่าเสถียรภาพของเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลเพื่อทราบถึงลักษณะของชั้นดินและคุณสมบัติต่างๆของอ่างเก็บน้า โดยพื้นที่ศึกษาอยู่ในหมู่ที่ 5ตาบล ช่อแล อาเภอ แม่แตง จังหวัด เชียงใหม่ ซึ่งทาการขุดเจาะเพื่อเก็บตัวอย่างดินจากสันเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลโดยใช้วิธี Wash Boring แล้วทาการเก็บตัวอย่างดินแบบ Undisturbed Sample เพื่อไปหาค่าคุณสมบัติพื้นฐานของดินในห้องปฏิบัติการ แล้วนาข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการประเมินหาค่าเสถียรภาพของเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล โดยใช้โปรแกรม Plaxis ด้วยวิธี Finite Elements
จากการศึกษาและวิเคราะห์ค่า SPT แสดงให้เห็นถึงชั้นดินของเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล นั้นพบว่าดินของเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลส่วนใหญ่เป็นดินประเภท ดินเหนียว ชั้นดินแบ่งออกเป็น 2ชั้น มีลักษณะเป็นดินเหนียวปนหินทั้ง 2ชั้น จากผลการทดสอบ SPT แสดงให้เห็นถึงการแบ่งชั้นดินโดยชั้นดินที่ 1จะมีความหนา 26 m และชั้นดินที่ 2จะมีความหนา 33 m โดยผลในห้องปฏิบัติการได้ค่า parameter ของชั้นดินที่ 1มีค่า
1. Water Content ประมาณ 21.2 % ,ค่า Specific Gravity เท่ากับ 2.63
2. Atterberge มีค่า LL ประมาณ 47.47และ มีค่า PL ประมาณ 26.75
3. ค่า Cohesion (C) เท่ากับ 5 t/m2
4. ค่า Angle of Friction เท่ากับ 15.78°
5. ค่า Unit Weigth เท่ากับ 2.01 t/m3
ของชั้นดินที่ 2มีค่า
1. Water Content ประมาณ 31.8 %
2. ค่า Specific Gravity เท่ากับ 2.75
3. Atterberge มีค่า LL ประมาณ 42.85และ มีค่า PL ประมาณ 28.71
4. ค่า Cohesion (C) เท่ากับ 8 t/m2
5. ค่า Angle of Friction เท่ากับ 15.25°
6. ค่า Unit Weigth เท่ากับ 1.92 t/m3
เมื่อนาข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Plaxis โดยวิธี Finite Element พบว่า กรณีแรงกระทาต่อเขื่อนที่ระดับกักเก็บน้าสูงสุดมีการเคลื่อนที่ไปในแนวราบและแนวดิ่งเป็นระยะ 2.64และ 1.69เมตร ตามลาดับ และมีค่า F.S. เท่ากับ 1.56สาหรับกรณีแรงกระทาต่อเขื่อนเนื่องจากแผ่นดินไหวที่ระดับกักเก็บน้าสูงสุดที่ขนาด 4ริกเตอร์ มีการเคลื่อนที่ไปในแนวราบและแนวดิ่งเป็นระยะ 2.69และ 1.69เมตร ตามลาดับ และมีค่า F.S. เท่ากับ 1.54ที่ขนาด 5ริกเตอร์ มีการเคลื่อนที่ไปในแนวราบและแนวดิ่งเป็นระยะ 2.83และ 1.69เมตร ตามลาดับและมีค่า F.S. เท่ากับ 1.52ที่ขนาด 6ริกเตอร์ มีการเคลื่อนที่ไปในแนวราบและแนวดิ่งเป็นระยะ 3.75และ 1.68เมตร ตามลาดับและมีค่า F.S. เท่ากับ 1.27เมื่อนาค่า F.S. ไปเปรียบเทียบค่าอัตราส่วนความปลอดภัยต่าสุดที่ยอมรับได้ทั้ง 3กรณี เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานจึงถือว่าเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลมีความปลอดภัย
ผลการศึกษาวิจัยนี้เป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้นที่จะนาข้อมูลไปใช้ในการประเมินหาค่าเสถียรภาพในระดับสูงต่อไป หากจะมีการก่อสร้างหรือการซ่อมแซมเขื่อนสามารถนาข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการออกแบบการปรับปรุงและบารุงรักษาเขื่อนต่อไป