Civil Engineering CMU

การศึกษาเปรียบเทียบวัสดุปรับสภาพดิน เพื่อพัฒนาความทนทานต่อการรับแรงอัดและการรับแรงดัดของอิฐดินดิบ

-
ชื่อผู้แต่ง: 
นาย ก้องเกียรติ แจ่มจำรัส
ชื่อผู้แต่ง: 
นาย โชติ เจริญสุข
ชื่อผู้แต่ง: 
นาย ณัฐกร ถาชื่น
อาจารย์ที่ปรึกษา: 
รศ.ดร. ปิติวัฒน์ วัฒนชัย
ประเภทงานวิจัย: 
โครงงานทางวิศวกรรมศาสตร์
สาขา: 
วิศวกรรมโครงสร้าง
ปีการศึกษา: 
2555
บทคัดย่อ: 

ในปัจจุบันการสร้างบ้านด้วยอิฐดินดิบ เป็นทางเลือกหนึ่งในการสร้างที่อยู่อาศัยหรือสถานที่เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ เช่น รีสอรท บ้านพักฯลฯ ซึ่งในประเทศไทยนิยมสร้างบ้านดินโดยการก่อผนังด้วยอิฐดินดิบ และฉาบด้วยดิน ปัญหาสำคัญคือ เมื่อดินสัมผัสกับน้ำ จะทำให้โครงสร้างของดินรับแรงอัดและแรงดัดได้น้อยลง แม้ว่าจะมีการวิจัยหลายการวิจัย ที่ช่วยเพิ่มรับแรงอัดและแรงดัด แต่การวิจัยเหล่านั้น ใช้วัสดุปรับสภาพดิน และอัตราส่วนในการผสม เพื่อผลิตก้อนอิฐดินดิบแตกต่างจากการวิจัยของ

            ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นทางด้านการศึกษาพัฒนาถึงผลกระทบของประมาณอัตราส่วนผสม วัสดุปรับสภาพที่มีความทนทานต่อการชะล้างพร้อมทั้งเพิ่มกำลังรับแรงอัดและการรับแรงดัด โดยงานวิจัยนี้ใช้วัสดุปรับสภาพ 3 ชนิดคือ โซเดียมซิลิเกต น้ำยางพาราพรีวัลคาไนซ์ อิมัลซิฟายแอสฟัลต์ โดยทำการผสมวัสดุปรับสภาพทั้ง 3 ในอัตราส่วนต่อไปนี้คือ ก้อนอิฐดินดิบที่ผสมน้ำยางพารา ก้อนอิฐดินดิบที่ผสมโซเดียมซิลิเกต ก้อนอิฐดินดิบที่ผสมน้ำยางพาราและโซเดียมซิลิเกต และก้อนอิฐดินดิบที่ผสมอิมัลซิฟาย แอสฟัลต์ โดยตัวอย่างที่ทำการผสม จะถูกทำให้แห้งด้วยการตากเป็นเวลา 2 วัน หลังจากนั้นนำไปทดสอบหากำลังรับแรงอัดและกำลังรับแรงดัดต่อไป

            จากผลการทดสอบการรับแรงอัด อัตาราส่วนผสมของวัสดุปรับสภาพดินที่ดีที่สุดคือ ยางพาราพรีวัลคาไนซ์:โซเดียมซิลิเกต คือ 10:3 และจากผลการทดสอบกำลังรับแรงดัด อัตาราส่วนผสมของวัสดุปรับสภาพดิที่ดีที่สุดคือ ยางพาราพรีวัลคาไนซ์:โซเดียมซิลิเกต คือ 5:3