Civil Engineering CMU

การสำรวจและปรับปรุงศักยภาพการระบายน้ำของลำเหมืองแม่สา ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเพิ่มน้ำต้นทุนให้กับคลองแม่ข่า

-
ชื่อผู้แต่ง: 
นายเทวัญ โทนปั่น
ชื่อผู้แต่ง: 
นายพัชรพล เอี่ยมเสน
อาจารย์ที่ปรึกษา: 
รศ. ชูโชค อายุพงศ์
ประเภทงานวิจัย: 
โครงงานทางวิศวกรรมศาสตร์
สาขา: 
วิศวกรรมแหล่งน้ำ
ปีการศึกษา: 
2555
บทคัดย่อ: 

โครงการนี้เป็นการศึกษาสำรวจ และปรับปรุงศักยภาพการระบายน้ำของลำเหมืองแม่สา เพื่อ เพิ่มน้ำต้นทุนให้กับคลองแม่ข่า โดยเริ่มสำรวจตั้งแต่ฝายกั้นน้ำแม่สา โดยผันน้ำจากน้ำแม่สาออกเป็น  ลำเหมืองแม่สา

ที่ บ้านแม่สาน้อย หมู่ 4 ตำบลแม่สา ถึง จุดเริ่มต้นคลองแม่ข่า บ้านพระนอน หมู่ที่5 ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยเริ่มจากทำการสำรวจพื้นที่เพื่อวัดหาหน้าตัดและลักษณะทางน้ำ ว่าทางน้ำในปัจจุบันมีลักษณะอย่างไร และหาค่าอัตราการไหลสูงสุด  ในการศึกษาจะทำการศึกษาสองช่วงคือ

1) ช่วงฤดูแล้ง จากการสำรวจและวิเคราะห์เบื้องต้นพบว่าไม่มีปัญหาเรื่องการระบายน้ำ ไม่ต้องปรับปรุงหน้าตัดทางน้ำเดิม จะสามารถผันน้ำจากลำน้ำแม่สาเข้าสู่ลำเหมืองแม่สาได้ ในอัตราการไหลสูงสุด 1.058 ลบม.ต่อ วินาที หรือ 91,411.2ลบม.ต่อ วัน แต่ถ้าต้องการผันน้ำเพิ่มจาก ลำน้ำแม่สาเพื่อใช้เป็นน้ำต้นทุนให้กับคลองแม่ข่า จะต้องปรับปรุงหน้าตัดทางน้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่ต้องการเพิ่ม และมีการสร้างอาคารควบคุมน้ำเพื่อให้น้ำจากเดิมที่ไหลลุงสู่แม่น้ำปิง ให้ไหลลงคลองแม่ข่าแทน

2)ช่วงฤดูฝน จะทำการศึกษาปริมาณหลากในรอบปีการเกิดซ้ำ (Return Period = 5)  โดยวิธีเรชั่นแนล (Rationnal’s Method) ร่วมกับ สมการแมนนิ่ง (Manning’s Equation)  เพื่อหาเปรียบเทียบ ค่าอัตราการไหลสูงสุดของช่วงฤดูฝน กับ ความสามารถการรับน้ำสูงสุดของทางน้ำ ว่าสามารถรับได้หรือไม่  ในส่วนที่ไม่สามารถรับน้ำได้มักจะก่อให้เกิดปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ดังกล่าว จากการสำรวจและศึกษาพบว่า ทางน้ำที่สามารถรับน้ำในในฤดูฝนได้ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง Sta.0 + 400 ถึง1 + 600ทางน้ำส่วนใหญ่ในปัจจุบันไม่สามารถรองรับน้ำในฤดูฝนได้    จากนั้นทำการออกแบบแก้ไขส่วนที่ไม่สามารถรับน้ำได้ให้มีศักยภาพพอที่จะรับน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก โดยการปรับปรุงสภาพท้องน้ำ หรือทำการออกแบบหน้าตัดทางน้ำใหม่ในส่วนที่มีขนาดหน้าตัดทางน้ำที่ไม่เหมาะสม

นอกจากการปรับปรุงหน้าตัดทางน้ำใหม่ในช่วงฤดูน้ำหลากตามที่ได้แนะนำ จะช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝนแล้ว ในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะรองรับน้ำจากน้ำแม่สาในฤดูแล้งได้มากขึ้นอีกด้วย