ระบบฐานข้อมูลที่พักอาศัยในเชียงใหม่เพื่อการประเมินความเสี่ยงต่อแผ่นดินไหวโดยการจัดทำแบบสำรวจอาคารที่พักอาศัยเตี้ยด้วยมีการอ้างอิงหลักการการออกแบบอาคารต้านแรงแผ่นดินไหวตามมาตรฐานประกอบการออกแบบอาคารเพื่อต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว(มยผ.1301-54)และ การทราบถึงกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทานความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. ๒๕๕o กำหนดให้อาคารบางประเภทที่ตั้งในจังหวัดเชียงใหม่ จำเป็นต้องออกแบบและก่อสร้างอาคารต้านทานแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวจำนวน 50 โครงการจากผู้ควบคุมงานก่อสร้างไปจนกระทั่งเจ้าของโครงการแล้วทำการสำรวจสถานที่ก่อสร้างอาคารบ้านพักอาศัยเตี้ยและเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาวิเคราะห์โดยหลักการทางสถิติแล้วสรุปข้อมูลที่ได้จากแบบสำรวจ
จากการศึกษาแบบสำรวจสามารถสรุปได้ว่าผู้ตอบแบบสำรวจถึงร้อยละ 40 “ไม่ทราบเลย” ถึงกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทานความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. ๒๕๕o กำหนดให้อาคารบางประเภทที่ตั้งในจังหวัดเชียงใหม่ จำเป็นต้องออกแบบและก่อสร้างอาคารต้านทานแรงสั่นสะเทือนและ มีผู้ตอบแบบสำรวจที่ “พอทราบบ้าง” และ “ทราบเป็นอย่างดี”ร้อยละ 44 , 16 ตามลำดับ โดยผู้ตอบแบบสำรวจที่ “ทราบ” และ “พอทราบบ้าง” ส่วนใหญ่ร้อยละ 40.5 ของข้อมูลทั้งหมด ทราบมาจาก “เอกสารจากหน่วยงานทางราชการ” และเมื่อนำข้อมูลการเสริมเหล็กต้านทานแผ่นดินไหวด้วยให้เลือกระหว่างการเสริมเหล็กทั่วไปกับการเสริมเหล็กต้านทานแผ่นดินไหวตามมาตรฐานประกอบการออกแบบอาคารเพื่อต้านทานการสั่นสะเสือนของแผ่นดินไหว(มยผ.1301-54)ได้ผลของการเสริมเหล็กดังนี้ การเสริมเหล็กปลอกในคาน มีการเสริมเหล็กปลอกพิเศษ ร้อยละ 48 และ มีการเสริมเหล็กปลอกธรรมดาร้อยละ 52การเสริมเหล็กปลอกเสาในเสา มีการเสริมเหล็กปลอกพิเศษร้อยละ 22และ มีการเสริมเหล็กปลอกธรรมดาร้อยละ 76การทาบเหล็กเสา มีการทาบเหล็กที่กึ่งกลางเสา ร้อยละ 22และมีการทาบเหล็กที่โคนเสา ร้อยละ 78 การเสริมเหล็กที่จุดต่อเสาของอาคารมีการเสริมปลอกพิเศษที่จุดต่อ ร้อยละ 88 และ ไม่มีการเสริมเหล็กปลอกพิเศษที่จุดต่อ ร้อยละ12 และพบว่าผู้ตอบแบบสำรวจคิดว่าจะมีผลอย่างไรกับอาคารที่ผู้ตอบแบบสำรวจดำเนินการก่อสร้างหากได้ออกแบบต้านทานแรงสั่นสะเทือนตามกฎหมายควบคุมอาคาร ร้อยละ 88ของผู้ตอบแบบสำรวจ คิดว่า “มีผลดี” ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลแบบสำรวจที่ว่าการให้มีการควบคุมอาคารที่พักอาศัยเตี้ย ตามข้อบังคับกฎหมายการออกแบบต้านทานแรงสั่นสะเทือนมีความเหมาะสมหรือไม่ ร้อยละ 82 ของผู้ตอบแบบสำรวจคิดว่า “เหมาะสม”