โครงการวิจัยนี้เป็นการศึกษาการทดสอบและประเมินหาค่าเสถียรภาพของเขื่อนแม่กวง เพื่อทราบถึงลักษณะและคุณสมบัติต่างๆของชั้นดิน โดยพื้นที่ศึกษาอยู่ในตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งทำการขุดเจาะเพื่อเก็บตัวอย่างดินจากสันเขื่อนแม่กวงโดยใช้วิธีWash Boringแล้วทำการเก็บตัวอย่างดินแบบ Undisturbed Sampleเพื่อไปหาค่าคุณสมบัติพื้นฐานของดินในห้องปฏิบัติการ แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการประเมินหาค่าเสถียรภาพของเขื่อนแม่กวง โดยใช้โปรแกรม Plaxisด้วยวิธี Finite elements
ผลการเจาะสำรวจธรณีวิทยาฐานรากบนสันทำนบเขื่อนจำนวน 1 หลุม ความลึก 60เมตร สามารถสรุปได้ดังนี้
ชั้นดินกลุ่มที่1 ประกอบด้วยชั้นดินกลุ่ม Sandy Clay with Gravelมีความหนา 20เมตรช่วงบนหลุมเจาะ มีความเชื่อมแน่นอยู่ในเกณฑ์ Stiff ถึง Hard สีน้ำตาลอ่อนและค่าการรั่วซึมของน้ำอยู่ในเกณฑ์สูง (41.7x10-4 –58.1x10-3 cm/sec)ได้ค่า specific gravity เท่ากับ 2.71,ค่า LL ประมาณ 42.33,ค่า PL ประมาณ 27.99,ค่า cohesion (C) เท่ากับ 3.00T/m2 และค่า angle of friction เท่ากับ 12.34°
ชั้นดินกลุ่มที่2 ประกอบด้วยชั้นดินกลุ่ม Sandy Clay มีความหนา 40เมตรความเชื่อมแน่นอยู่ในเกณฑ์ Very Stiff ถึง Hard สีน้ำตาลแดงเข้ม และค่าการรั่วซึมของน้ำอยู่ในเกณฑ์สูง (9.87x10-4 - 2.35x10-4 cm/sec) ซึ่งค่าจากการทดสอบในห้องปฏิบัติการได้ค่า specific gravity เท่ากับ 2.79ค่า LL ประมาณ 42.85 ค่า PL ประมาณ 28.71,ค่า cohesion (C) เท่ากับ 16.00T/m2 และค่า angle of friction เท่ากับ 14.04°
เมื่อนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Plaxisโดยวิธี Finite Elementพบว่า กรณีแรงกระทำต่อเขื่อนที่ระดับกักเก็บน้ำปรกติมีการเคลื่อนที่ไปในแนวราบและเกิดการทรุดตัวในแนวดิ่งเป็นระยะ 330.00และ 132.00มิลลิเมตร ตามลำดับ และมีค่า F.S. เท่ากับ1.40สำหรับกรณีแรงกระทำต่อเขื่อนเนื่องจากแผ่นดินไหวที่ระดับกักเก็บน้ำสูงสุดที่ขนาด 4, 5และ6ริกเตอร์ มีการเคลื่อนที่ไปในแนวราบเป็นระยะ 336.00, 350.00และ458.00มิลลิเมตร ตามลำดับ มีค่าการทรุดตัวในแนวดิ่งเนื่องจากแผ่นดินไหวที่ระดับกักเก็บน้ำสูงสุดที่ขนาด4,5 และ 6ริกเตอร์ มีค่า 3.29, 3.29 และ 3.57ตามลำดับ และ มีค่า F.S. เนื่องจากแผ่นดินไหวที่ระดับกักเก็บน้ำสูงสุดที่ขนาด 4, 5และ 6 ริกเตอร์ เท่ากับ 1.39, 1.37, 0.85 ตามลำดับเมื่อนำค่า F.S.ไปเปรียบเทียบค่าอัตราส่วนความปลอดภัยต่ำสุดที่ยอมรับได้ทั้ง 2 กรณี เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานจึงถือว่าเขื่อนแม่กวงอุดมธารามีความปลอดภัย
ผลการศึกษาวิจัยนี้เป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้นที่จะนำข้อมูลไปใช้ในการประเมินหาค่าเสถียรภาพในระดับสูงต่อไป หากจะมีการก่อสร้างหรือการซ่อมแซมเขื่อนสามารถนำข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้ ไปใช้ในการออกแบบการปรับปรุงและบำรุงรักษาอ่างเก็บน้ำต่อไป